
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่: ปัจจัยถ่วงรั้ง ความคาดหวังของประชาชน และแนวทางการพัฒนาไปสู่ความเป็นสื่อพลเมือง
รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมกิตติ์ ธรรมโม
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
758-59-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยเรื่อง “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่: บทบาท ความคาดหวังของประชาชน และแนวทางการพัฒนาไปสู่ความเป็นสื่อพลเมือง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความคาดหวังของประชาชนผู้รับสารต่อบทบาทหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาถึงบทบาท และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคถ่วงรั้งการพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่น และแนวทางในการส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่เป็นสื่อพลเมือง (Civic Journalism) ใช้วิธีการศึกษาที่เรียกว่าผสมผสาน (Mixed methods) โดยการนำทั้งวิธีการทางปริมาณ (Quantitative) และทางคุณภาพ (qualitative) ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคาดหวังต่อบทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเชียงใหม่ในระดับมาก ( = 4.10) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคาดหวังต่อบทบาทในด้านการทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้กับชุมชนท้องถิ่น ( = 4.43) ส่วนบทบาทต่อชุมชนท้องถิ่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามให้ค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ( = 2.67) ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าความคาดหวัง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นยังมีปัญหาในแง่ของความทันต่อเหตุการณ์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ( = 2.48) สอดคล้องกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่พบว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีบทบาทต่อชุมชนน้อยกว่าในอดีต โดยมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหลายประการ ได้แก่ การรวมศูนย์ทางการเมืองและเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนกลาง และคนหันไปรับสารจากสื่อส่วนกลางมากกว่า อีกทั้งหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นยังปรับตัวช้า ไม่สอดรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทการสื่อสารซึ่งคนหันไปบริโภคสื่อใหม่ เนื้อหาปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น นอกจากนี้ยังประสบปัญหาทางด้านการพัฒนาบุคลากรแม้ว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเชียงใหม่ยังคงให้ความสำคัญกับเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่น โดยในส่วนของข่าว มีสัดส่วนของข่าวท้องถิ่นร้อยละ 60.50 บทบรรณาธิการเป็นการนำเอาประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่นมานำเสนอทั้งหมดร้อยละ 100 และบทความ/บทวิจารณ์/คอลัมน์ เป็นประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่นในสัดส่วนร้อยละ 75.40 แต่มีเนื้อหาที่สะท้อนความเป็นสื่อพลเมืองเพียงร้อยละ 2.88 แนวทางการพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเชียงใหม่ไปสู่ความเป็นสื่อพลเมืองที่ผูกพันกับชุมชนท้องถิ่นนั้น จะต้องเสนอประเด็นข่าวปัญหาที่เป็นวิกฤตของชาวเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม และเปิดพื้นที่ให้กับแหล่งข่าวที่ไม่ใช่ภาคราชการให้มากขึ้น รวมถึงการเปิดให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะของนักข่าวพลเมือง นอกจากนี้จะต้องมีการนำสื่อใหม่และสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาใช้เพื่อการเข้าถึงผู้รับสารได้มากขึ้น
Abstract
This research is aimed 1) to explore people’s expectation of local newspapers in the context of Chiang Mai, the biggest city among the provinces in Thailand 2) to investigate local newspapers’ roles in relation to local community and hurdles they are facing and 3) to analyze the papers’ content vis-à-vis how they represent the local leading to ways to promote these communication outlets to be civic media. Employing content analysis, interview and survey research, the study found that research respondents have high expectations of local newspapers and particularly, their roles to represent local interests ( = 4.43). However, they see the existing roles of these media is only on average level ( = 2.67); and identify some shortcomings of the papers especially their slow pace of news reporting ( = 2.48). This finding from questionnaires is in line with perspectives of the interviewees seeing declining roles of local papers. The unfavorable factors obstructing these media includes centralization of political and economic power in Thailand, resulting in a dominant role of national media, located in Bangkok. Chiang Mai’s newspapers response slowly to changing communication landscape where local people turn to news from online platform. Media content and human resources are also drawbacks to local newspaper development. Chiang Mai’s newspapers still keep their focus to local content as 60.50 percent of news stories, 100 percent of editorials and 75.40 percent of articles, commentaries and columns dedicate to content in relation to the locals. However this local content reflects the notion of civic media only 2.88 percent. In order to adopt themselves to be civic media, local newspapers in Chiang Mai have to massively concentrate on content related to crises of Chiang Mai, i.e. environment issues and provide more space to sources other than government agencies, especially those associating with local community and civil society. Giving opportunities to people to report stories is another way to make media closely link to their target readers. Finally, they must immensely utilize online media in order to reach larger receivers.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา443 20 พ.ย. 2561

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555