ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน


รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรวุฒิ สมยานะ

คณะวิทยาการจัดการ

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

793-60-MGT-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12 ตำบล 14 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านประสิทธิภาพการผลิต เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชาคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 14 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ สินค้าของกลุ่มเกษตรกรมีคุณภาพและมีตลาดรองรับ แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ มีความต้องการเพียงในระดับชุมชน ตลาดไม่มีความหลากหลาย ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ กลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านความรู้และเงินทุน แต่อุปสรรคที่สำคัญคือ มีการแข่งขันของสินค้าเกษตรในตลาดค่อนข้างสูง จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้างแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ให้มีศักยภาพการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหมด 6 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การใช้ทรัพยากรในการดำเนินการด้านการเกษตรของกลุ่ม ซึ่งผลสำเร็จของกลุ่มนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำการผลิตให้ได้มากที่สุด (ร้อยละ 26.19) รองลงมา คือ เกษตรกรควรมีการวางแผนและควบคุมการผลิตด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานที่คงที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (ร้อยละ 23.81) ประเด็น การหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเกษตรกรสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการผลิตของตนเอง (ร้อยละ 21.43) ประเด็นการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายด้านการเกษตร เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือด้านการผลิต การให้ความรู้ซึ่งกันและกัน การสร้างตลาดร่วมกัน เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแก่เกษตรกรโดยใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดด้วย (ร้อยละ 11.91) ประเด็นกลุ่มเกษตรกรควรทำบัญชีฟาร์ม โดยการจดบันทึกข้อมูลโดยเฉพาะต้นทุนการผลิต (ร้อยละ 9.52) และประเด็นสุดท้าย คือ เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ควรมีความกระตือรือร้นในการหาความรู้ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอย่างสม่ำเสมอ และพร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านการผลิตจากหน่วยงานที่มาให้ความรู้มากขึ้น (ร้อยละ 7.14) ทั้งนี้ การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนการพัฒนาการเกษตรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อจากนั้นการวิจัยควร บูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการพัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตรร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด

Abstract

This research aims to 1) study the potentialities of agricultural communities and 2) to develop the potentialities for increasing the production of Chiang Ma agricultural products communities to compete in ASEAN community. Sample consisted of 14 groups of agriculturists whose production were efficient in ASEAN community. Participatory action research, SWOT analysis and 6 dimensions from Michael E. Porter’ Diamond Model were used to evaluate the achievement The study found that the strengths of agricultural communities were that their products have good quality and have market support. Their weaknesses were that products were only needs in communities, markets have no varieties . However, a lot of organizations helped and supported them both knowledge and budgets. The threats were that markets have high competitions. Guidelines to increase the efficiency of agricultural products’ production were as follow; 1) use resources efficiently (20.19%); 2) plan and control the production systematically (23.01%); 3) select appropriated resources with production (21.43%); 4) form and establish networks of agriculture (11.91%); 5) make the farm accounting (9.52%) and 6) seek for knowledge to increase the efficiency of production continuously (7.14%). The impact of ASEAN community in 9 countires regarding the efficiency of production should be studied for the next phase. The potential communities should be selected and have integrated plan to develop agricultural communities with other organizations which may be useful for the performance.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

427 23 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่