
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากปัญหาคุณภาพน้ำ กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน
รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ใจเตี้ย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
832-60-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนผ่านกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชนจากปัญหาคุณภาพน้ำของลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัด จำนวน 62 คน และรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนากิจกรรมโดยการวิจัยเอกสาร การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม และทดสอบประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์กิจกรรมด้วยกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หากระบวนทัศน์ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพกิจกรรมตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (E1 / E2) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ด้วยการทดสอบค่า t แบบอิสระกัน (Pair t – test) ผลการศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์กิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนผ่านกระบวนวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้กิจกรรมสูงกว่าก่อนทดลองใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p = 0.006) ส่วนประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนผ่านเครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบสุขภาพระดับชุมชนเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (80.56 / 84.25) และผลสัมฤทธิ์กิจกรรมมีค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้กิจกรรมสูงกว่าก่อนทดลองใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p = 0.002) ผู้มีส่วนได้เสียเสนอแนะให้เสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การแสวงหากระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเข้าถึงการใช้ประโยชน์แม่น้ำลี้ที่เท่าเทียม การเสริมสร้างองค์ความรู้และการเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และการสร้างเสริม อนุรักษ์และฟื้นฟูการจัดการทรัพยากรน้ำและป่าไม้ด้วยรูปแบบนิเวศวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง
Abstract
The purpose of this study was to build community learning process on environmental and health impact analysis form water quality problems of Li water shed lumphun province. Sixty - two stakeholders living in the area of Li watershed, Lumphun province were selected as samples. Data including research documents, questionnaires, in depth interview and focus group were collected and analyzed for developing activities, Activity through stakeholder group operational seminar was efficiency and achievement tested. The thematic analysis, descriptive statistics, content analysis, E1 / E2 according to the set criteria of 80 /80 and paired t-test were employed. The results shown that the average post learning score community learning process achievement through environmental impact analysis was significantly higher than the pre – leaning score (p = .006). For community health analysis tools, activities the score of stakeholders knowledge post-learning and the score of pre-learning activities were 80.56 / 84.25. The efficiency gained in each activities were specified at 80.00 / 80.00 percent (E1 / E2) .Base on comparison of community health analysis tools activities, the post-learning achievement score was significantly higher than the pre-learning score (p = .002). Stakeholders suggested that building learning activities on water quality analysis, finding participation process to equality access utilizing Li river, strengthening knowledge and disease surveillance regarding waste water quality, promoting conservation and restoration water and forest resources management with relevant cultural ecological should be conducted.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารควบคุมโรค ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 ม.ค. - มี.ค. 2561
ปีที่ตีพิมพ์ :2561
671 16 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445