ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนต้นแบบจากการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่-แม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.อรกัญญา กาญจนธารากุล

คณะวิทยาการจัดการ

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

858-60-MGT-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามกรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยดัชนีชี้วัดต่างๆ จะสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมืออันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระยะยาว และหาแนวทางในการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการในทุกด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความความสมดุลและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ พื้นที่ทำการศึกษาได้แก่ บ้านแม่สาใหม่-แม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 201 ครัวเรือน ภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนของ The United Nations Commission on Sustainable Development (UNCSD) พบว่า ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ดัชนี/ตัวชี้วัดความสำเร็จจะอยู่ในระดับต่ำ มีความเสี่ยงอยู่ในเรื่องของกิจกรรมการอนุรักษ์ดินและภัยธรรมชาติจากปัญหาความแห้งแล้ง แต่ในมิติด้านเศรษฐกิจและมิติด้านสังคม ดัชนี/ตัวชี้วัดความสำเร็จจะอยู่ในระดับที่สูง โดย Income Diversity Index (DI) อยู่ในระดับที่สูงมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.8289 แสดงว่าครัวเรือนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจเนื่องจากมีช่องทางการสร้างรายได้หลายช่องทาง ช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนเพียงช่องทางใดทางหนึ่ง สำหรับ Social Security Index (SSI) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.7016 ซึ่งอยู่ในระดับสูง แม้ว่าครัวเรือนครัวเรือนจะมีความเหลื่อมล้ำและเกิดช่องว่างระหว่างรายได้ จากจุดอ่อนในตัวชี้วัดทางด้านสังคมในบางประเด็นโดยเฉพาะระดับการศึกษาและการรับรู้หนังสือ แต่ความรุนแรงของปัญหาอยู่ในระดับที่ต่ำและครัวเรือนยังมีโอกาสที่จะหลุดพ้นจากความยากจนนั้นได้ ดังนั้น การให้ความรู้ครัวเรือนเรื่องประโยชน์องการปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพดิน เพื่อพัฒนาคุณภาพและผลผลิตทางการเกษตรของครัวเรือน และการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงอนุรักษ์ เชิงวัฒนธรรม และธรรมชาติ เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในอำเภอแม่ริม อีกทั้งพัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐาน จะช่วยสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่งให้แก่ครัวเรือนและสามารถทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นขยายตัวได้

Abstract

This study aims to investigate success indicators for community development, based on the concept of sustainable development introduced by the United Nations Commission on Sustainable Development (UNCSD). Indicators allow us to assess the capacity to improve quality of life in the long run and find ways to develop integrated community in all aspects, including economic, social and environmental. The studied area is located in Ban Maesa Mai and Ban Maesa Noi, Chiangmai; it is composed of 201 households. We found that environmental indicators are low: there are risks in the activities of soil conservation and natural disasters due to drought. But in terms of economic and social dimensions, success indicators are high. The Income Diversity Index is very high: an average of 0.83 indicates that households have economic stability because of their multi-channel revenue, which reduces the investment risk. For the Social Security Index, the average was 0.70, which is high, although there is some disparity in household income, education and literacy. However, the severity of the problem is low and households have the opportunity to escape from poverty. So, educating households about the benefits of improving and rehabilitating the soil will improve productivity and the quality of agricultural products. Cultural, ecological and natural tourism in the area should be developed in connection with other attractions, thanks to Mae Rim Infrastructure improvement. This development will also contribute to generate community income and to expand the local economy.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

426 12 ก.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่