
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาการใช้สีสกัดจากธรรมชาติบนกระดาษสา
อาจารย์ ดร.นภารัตน์ จิวาลักษณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
859-60-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสีจากใบสดของตัวอย่างพืช ได้แก่ มะม่วง สัก และหูกวาง แล้วประยุกต์ใช้สีที่สกัดได้จากพืชในท้องถิ่นไปเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตกระดาษสา และ เพื่อศึกษาค่าความเป็นกรดด่างที่ส่งผลต่อค่าสีที่ได้จากการใช้ตัวอย่างพืชชนิดต่าง ๆ บนกระดาษสา พบว่าสารสกัดสีจากใบพืชในท้องถิ่น ได้แก่ มะม่วง สัก และหูกวาง ได้สารสกัดที่นำไปย้อมสีของกระดาษสา ได้สารสีดังนี้ สีเหลืองของแมงจิเฟอริน (Mangiferin) จากใบมะม่วง สีเหลืองของ Tectoleafquinone และสีแดงของ Tectograndone และ 9,10 dimetoxy-3-hydroxy-2-isopentenylanthra-1,4-dione จากใบสัก และสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลของฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) แอนทราควิโนน (Anthraquinone) และไฮโดรไลเซเปิลแทนนิน (Hydrolyzable tannins) และสีเขียวของคลอโรฟิลล์(Chorlophyll) จากใบหูกวาง จากนั้นนำไปศึกษาความเป็นกรดด่างของน้ำย้อมสีบนกระดาษสาใน ใบมะม่วง ใบสัก และใบหูกวาง แล้ววัดสีด้วยระบบ CIELAB พบว่า ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำย้อมสีมีผลต่อเฉดสีของกระดาษสาให้สีแตกต่างกัน ดังนี้ สีเหลืองออกเขียวจากใบมะม่วงสภาวะกรดและใบหูกวางสภาวะกรดและกลาง, สีเหลืองออกแดงจากใบมะม่วงสภาวะกลางและเบสและใบสักสภาวะกรดและเบส, สีเหลืองออกส้มจากใบสักสภาวะกลางและใบหูกวางสภาวะเบส การประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์กระดาษสาตัวอย่างที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติสกัดจาก ใบมะม่วง ใบสักและใบหูกวาง ทั้ง 3 สภาวะ ได้แก่ กรด กลาง และเบส พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 40 คน มีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุดต่อความสวยงามของสีจากใบมะม่วงในสภาวะกรด, ความสม่ำเสมอของสีจากใบหูกวางในสภาวะกรด, ความแข็งแรงของกระดาษสาจากใบหูกวางในสภาวะกรดและสภาวะกลาง, ความหนา/บางของกระดาษสาจากใบหูกวางในสภาวะกรด และความเรียบของกระดาษสาจากใบสักในสภาวะกรด ในระดับคะแนน 3.47, 3.42, 3.17, 3.27 และ 3.52 ตามลำดับ ผลการศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดจากพืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ มะม่วง สัก และหูกวาง ทั้งที่ไม่เติมสารส้มและเติมสารส้ม เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาวิจัยพบว่าส่วนใหญ่มีสารองค์ประกอบพฤกษเคมีสำคัญที่ให้ผลการทดลองเหมือนกัน คือ แทนนิน ฟลาโวนอยด์ เทอร์พีนอยด์และซาโปนิน แต่สารสกัดที่เติมสารส้มทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ มะม่วง และสักจะไม่พบแทนนิน ส่วนสารแอนทราควิโนนจะพบเฉพาะในสารสกัดใบสัก นอกจากนี้ไม่พบสารไกลโคไซด์ปรากฏอยู่ในสารสกัดที่ตรวจสอบได้
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา468 08 ต.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445