ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การรู้เท่าทันสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.รพีพร เทียมจันทร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

895-60-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การรู้เท่าทันสื่อ และปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์สรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในการศึกษาครั้งนี้เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 20-29 ปี นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพรับจ้าง ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท และไม่มีโรคประจำตัว การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่อทุกวัน ใช้สมาร์ตโฟนและใช้เวลาในการเปิดรับข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงต่อครั้ง เลือกวันตามสะดวกในการเปิดรับข้อมูลและช่วงเวลาที่ใช้เปิดรับข้อมูลอยู่ในช่วง 18.01 น.-00.00 น. นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่รู้จักและซื้อสินค้าสุขภาพให้แก่ตนเอง เหตุผลที่เลือกเปิดรับข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า คือ ความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูล การสั่งซื้อ และการรับ-ส่งสินค้า วัตถุประสงค์ในการสั่งซื้อสินค้าสุขภาพ คือ ต้องการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่สั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีการสั่งซื้อครั้งละ 1-2 ชิ้นและมีมูลค่าเฉลี่ย 1,300 บาท มีการชำระเงินปลายทาง และมีความพึงพอใจในสินค้าที่ซื้อ การเปิดรับข้อมูลสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตมีผลกระทบต่อประชาชนคือทำให้ซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น บ่อยขึ้น และทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ปัญหาในการเปิดรับข้อมูลสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตพบว่าสินค้าบางชนิดมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการรู้เท่าทันสื่อการจำหน่ายสินค้าสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ในภาพรวม การรู้เท่าทันสื่อของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅= 3.26+0.74) การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อ ผลการวิเคราะห์พบว่า เพศและการมีโรคและไม่มีโรคประจำตัวของประชาชนไม่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อ (p=0.77 และ 0.92 ตามลำดับ) ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนของประชาชน มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

305 01 ต.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่