
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ โดย ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นฐาน
อาจารย์วิเชษฐ์ สิงโต
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
910-60-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากระบวนการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อให้นักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นวางแผน 2. ขั้นปฏิบัติตามแผน 3. ขั้นสังเกตผลการปฏิบัติ และ 4. ขั้นสะท้อนคิด โดยทำการจัดอบรมสัมมนาการทำวิจัยในชั้นเรียน 3 รอบ พร้อมทั้งใช้ใบกิจกรรมฝึกทักษะการทำวิจัยตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจัดประกวดผลการวิจัยในชั้นเรียน ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการพัฒนาทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนควรมีการจัดอบรมสัมมนาการทำวิจัยในชั้นเรียน 3 รอบ พร้อมทั้งได้ทำใบกิจกรรมกลุ่มซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน และสามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของตนเองได้ ซึ่งส่งผลให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการการทำวิจัยในชั้นเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 72.00 ของนักศึกษาทั้งหมด ซึ่งอยู่ในระดับดี ส่วนนักศึกษาที่ทำแบบทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 28.00 เหตุผลที่นักศึกษากลุ่มนี้ไม่ผ่านเกณฑ์อาจเป็นเพราะว่านักศึกษาไม่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน
Abstract
Participants were 50 students in Mathematics 4th and 5th in academic year 2017 at Faculty of Education. In this research, we use action research method in 4 step 1) Planning 2) Act 3) Observe and 4) Reflect. We seperate workshop in 3 times and using worksheet follow by scientific process and provide the contest in research project. Research results are development of classroom research skills process should devide into 3 times and must have group activities for doing worksheet in order to exchange knowledge and experience for solving their classroom problem. The achievement of classroom research ability of 36 students (72%) was higher than criteria and the others were lower than criteria because they have not classroom experience.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา1110 08 ต.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445