
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ศักยภาพการให้ผลผลิตและลักษณะการเจริญเติบโตของชาเมี่ยงในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัตถ์ อัจฉริยมนตรี
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
970-60-AGRI-RSPG
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยศักยภาพการให้ผลผลิตและลักษณะการเจริญเติบโตของชาเมี่ยง (camellia sinensis var. assamica) ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของต้นชาเมี่ยงในสภาพธรรมชาติ ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึง กันยายน 2561 ใช้วิธีการสำรวจและเก็บข้อมูลวิธีการเขตกรรมชาเมี่ยงของเกษตรกรโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) และเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและผลผลิตของชาเมี่ยงในสภาพธรรมชาติ จากแปลงสาธิตที่คัดเลือกจากเกษตรกรที่มีศักยภาพเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมชาเมี่ยง ซึ่งเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน 2561 จากการศึกษาศักยภาพในการเจริญเติบโตของต้นชาเมี่ยง พบว่า 1) ความสูงของต้นชาเมี่ยงมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 1 เดือน โดยเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร 2) มีจำนวนใบที่แตกใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2 ใบ และ 3) ความยาวของใบที่แตกใหม่โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.7 เซนติเมตร สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพในการให้ผลผลิตของต้นชาเมี่ยงในแปลงสาธิตที่มีอายุมากกว่า 10 ปี พบว่า มีขนาดทรงพุ่ม (กว้าง ยาว) โดยเฉลี่ยเท่ากับ (70 80) เซนติเมตร มีความสูงของต้นโดยเฉลี่ย เท่ากับ 180 เซนติเมตร และมีจำนวนกิ่งแขนงหลักที่ให้ผลผลิตได้โดยเฉลี่ย 13 กิ่งต่อต้น สำหรับผลผลิตของใบเมี่ยงสดโดยเฉลี่ยครั้งละ 1.2 กิโลกรัมต่อต้น ขึ้นอยู่กับฤดูกาลที่มีผลต่อการแตกใบอ่อนของต้นชาเมี่ยง การเขตกรรมชาเมี่ยงของเกษตรกรหมู่ที่ 2 บ้านปางมะกล้วย ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิถีชีวิตของชุมชนมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ทำให้รู้ถึงวิธีการปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว และแปรรูป ทำได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ได้บรรลุเป้าหมายที่นำไปสู่การอนุรักษ์พันธุกรรมชาเมี่ยงให้คงอยู่ในชุมชนต่อไป (คำสำคัญ: ชาเมี่ยง, การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)
Abstract
This research was study on Yield potential and growth performance of Meang Tea (camellia sinensis var. assamica) in Tambon Phapae MaeTang District Chiang Mai Provience. The objective of this research was study on Yield potential and growth performance of Meang Tea under a natural condition during December 2017 to September 2018. The study was used the participatory action research by surveying and collecting the Natural Meang Tea cultivation method in the demonstration fileds selected from potential farmer in Meang Tea genetic conservation that started planting in August until September 2018. The study on the potential growth of Meang Tea was found that 1) The average height of the Meang Tea increased by 1.3 cm. in a month, 2) The number of average new shoots increased by 2 leaves and 3) The length of average new shoots increased by 0.7 cm. The yield potential analysis of the Meang Tea that grows over 10 years in the demonstration field was found that the average shrub size (width length) was (70 80) cm. The average height was 180 cm. and the average number of branches was 13 branches per tree. The yield average was 1.2 Kg./tree/time. It depend on the season, which affects the young leaves of Meang Tea. The Meang Tea cultivation of farmers that located on Moo 2, PhangMaKluay Village, Tambon Phapae, MaeTang District, Chiang Mai Provience was a way of life since the ancestors. They learn how to plant, maintain, harvest and process throughout the year. Therefore, this research aims to achieve the goal of Meang Tea genetic conservation that remain in their community. (Keywords: Meang Tea, Plant Genetic Conservation, Participatory Action Research)
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา458 01 ต.ค. 2561

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓
0-2282-1850
admin@plantgenetics-rspg.org