ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

องค์ประกอบทางพฤกษเคมี ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดพืชสมุนไพรฮ่อสะพายควาย (Amicratea grahamil) และหงอนไก่อู (Barleria strigosa)


อาจารย์ ดร.วิมลรัตน์ พจน์ไตรทิพย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

973-60-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

ป่าชุมชนบ้านหัวทุ่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นป่าที่มีความหลากหลายของพืชสมุนไพรมาก พืชสมุนไพรหลายชนิดเคยใช้เป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญญาดั้งเดิม งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบของพืชสมุนไพร 2 ชนิด ได้แก่ ฮ่อสะพายควาย (Arnicratea grahamii) และหงอนไก่อู (Barleria strigosa) ทั้งแบบสดและนำมาแปรรูปเบื้องต้นโดยการผึ่งลมและอบแห้ง แล้วเปรียบเทียบปริมาณสารพฤกษเคมี ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ผลการทดลองพบว่า หงอนไก่อูมีสารพฤกษเคมี คือ สเตอรอยด์ เทอร์พีนอยด์ และแทนนิน และในฮ่อสะพายควายพบแอลคาลอยด์ แทนนิน สเตอรอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ และ เทอร์พีนอยด์ จากผลการทดสอบหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric method หงอนไก่อูอบแห้ง ผึ่งลม และสด มีปริมาณ GAE เท่ากับ 71.8 26.5 และ 25.8 mg Gallic acid /g extract ตามลำดับ ส่วนสารสกัดตัวอย่างฮ่อสะพายควายอบแห้ง ผึ่งลม และสด มีปริมาณ GAE เท่ากับ 97.4 103.4 และ 88.9 mg Gallic acid /g extract ตามลำดับ จากการทดสอบปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม ด้วยวิธี Aluminium trichloride (AlCl3) colorimetric method พบว่าสารสกัดตัวอย่างหงอนไก่อู ในตัวอย่างอบแห้ง ผึ่งลม และสด มีปริมาณเท่ากับ 834.3 570.1 และ 478.5 mg Quercetin /g extract ตามลำดับ และตัวอย่างฮ่อสะพายควายผึ่งลม อบแห้ง และ สด มีปริมาณเท่ากับ 543.6 509.3 และ 312.2 mg Quercetin /g extract ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยใช้วิธี DPPH Assay พบว่า สารสกัดของหงอนไก่อู และฮ่อสะพายควาย อบแห้ง ผึ่งลม และสด มีค่า Vitamin C Equivalent Antioxidant Capacity (VCEAC) เท่ากับ 103.7 47.5 และ 37.4 mg Vitamin C /g extract และ 252.4 306.7 และ 185.2 mg Vitamin C /g extract ตามลำดับ และ มีค่า Trolox equivalent antioxidant capacity (TEAC) เท่ากับ 118.5 47.5 และ 44.9 mg Trolox /g extract และ 441.6 490.8 และ 308.6 mg Trolox /g extract ตามลำดับ และผลการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยใช้วิธี ABTS Assay พบว่า หงอนไก่อูและฮ่อสะพายควาย อบแห้ง ผึ่งลม และสด มีค่า มีค่า Vitamin C Equivalent Antioxidant Capacity (VCEAC) เท่ากับ 97.6 25.7 และ 16.8 mg Vitamin C /g extract และ 425.5 331.5 และ 83.9 mg Vitamin C /g extract ตามลำดับ และมีค่า Trolox equivalent antioxidant capacity (TEAC) เท่ากับ 146.3 51.4 และ 33.6 mg Trolox /g extract และ 425.5 331.5 และ 83.9 mg Trolox /g extract ตามลำดับ สารสกัดจากพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ โดยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Enterobacter aerogenes, และ Escherichia coli ได้ ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรหงอนไก่อูที่สกัดจากตัวอย่างสด ตัวอย่างผึ่งลมและตัวอย่างอบแห้งมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางวงใสอยู่ในช่วง 6.20-18.40 cm, 7.00-16.20 cm และ 6.40-14.60 cm ตามลำดับ ในขณะที่ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรฮ่อสะพายควายที่สกัดจากตัวอย่างสด ตัวอย่างผึ่งลมและตัวอย่างอบแห้งมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางวงใสอยู่ในช่วง 7.00-16.40 cm, 6.40-16.40 cm และ 6.40-16.00 cm ตามลำดับ

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

1332 08 ต.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่