ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ รูปแบบ CoCoOut 21 Model


รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกตุ อุทธโยธา

คณะครุศาสตร์

เลขทะเบียน :

988-61-EDU-NRCT

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและศึกษาผลการขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model ที่เกิดจากเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชน ตามหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย เป็นบุคลากรขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย บุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 บุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 บุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตการศึกษา 34 บุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ บุคลากรสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต จังหวัดเชียงใหม่ บุคลากรสังกัดภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ได้แก่ โรงเรียนบ้านเชียงดาว ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนมิตรมวลชน ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ได้แก่ โรงเรียนเวฬุวัน (สารภีชนานุกูล) ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนบ้านปากเหมือง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตการศึกษา 34 ได้แก่ โรงเรียนสันทรายวิทยาคม ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษ แบบบันทึกการประชุมชี้แจงโครงการวิจัย แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการวิจัย แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดประเภท หมวดหมู่ สังเคราะห์ ค้นหารูปแบบ อธิบายและบรรยายถึงสิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้เข้าใจความหมายในสิ่งที่ได้เรียนรู้และปรากฏการณ์ที่ศึกษา แปลความหมายและตีความข้อมูลที่ได้รวบรวม ที่ได้จากการศึกษาของบุคลากรขององค์กรเครือข่ายที่ร่วมเป็นวิทยากร บุคลากรของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model พบว่า ผลการประเมินผลการจัดการเรียนรวม รูปแบบ CoCoOut21 จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 5 คน ได้คะแนน 4.43 คะแนน จากระดับคะแนน 5 อยู่ในระดับ ดีมาก 2. ผลการขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model ที่เกิดจากเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชน ตามหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยงในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ผลที่ได้ พบว่า การประสานความร่วมมือ (Collaboration) ในการวิจัยครั้งนี้ มีการประสานความร่วมมือกันในทีมผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน การประสานความร่วมมือกันระหว่างทีมผู้เชี่ยวชาญกับโรงเรียนทำให้เกิดการส่งต่อความช่วยเหลือและร่วมกันแก้ปัญหาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การประสานความร่วมมือกันภายในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทำให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ด้านการศึกษาพิเศษอย่างแท้จริง การประสานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกันและร่วมกันพัฒนาเด็กเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการประสานความร่วมมือกันของกลุ่มผู้ปกครองทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เลี้ยงดูบุตรหลานที่บ้าน การประสานความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษส่งผลต่อการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม การนิเทศแบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) เป็นการให้ข้อแนะนำ (Coaching) แก่ครูของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างและผู้ปกครอง แล้วครูและผู้ปกครองนำสู่การปฏิบัติต่อเด็กส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น รวมทั้งครูสามารถจัดการกับปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับศักยภาพของเด็ก การจัดการพฤติกรรมทำให้ครูสามารถจัดการชั้นเรียนได้ดียิ่งขึ้น และผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือ ดูแล และสนับสนุนบุตรหลานให้สามารถควบคุมและดูแลตนเองได้ ซึ่งการให้ข้อแนะนำแก่ครูของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างและผู้ปกครองควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกภาคเรียนและทำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษคนใหม่เข้ารับการศึกษาเป็นประจำทุกปีการศึกษา ประกอบกับ เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาขึ้นแล้ว ต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เด็กทุกปีการศึกษา ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ได้ทำการวิจัยในโรงเรียนขยายโอกาสที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ทำให้พบปัญหาในการไม่ยอมรับความบกพร่องของตนเองของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ปัญหาการสื่อสารระหว่างเด็กกับครูและระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง การออกหน่วยบริการเชิงรุกถึงโรงเรียน (Outreach Program) ทำให้ครูไม่ต้องทิ้งชั้นเรียนและครูทุกคนในโรงเรียนได้รับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างทั่วถึง และได้ให้ข้อแนะนำตรงตามสภาพบริบทปัญหาที่แท้จริง และสนับสนุน ยืนยันในสิ่งที่ครูและผู้ปกครองได้ดำเนินการพัฒนาเด็กอยู่แล้ว การออกหน่วยบริการเชิงรุกถึงโรงเรียนทำให้ครูและผู้ปกครองรู้สึกอบอุ่นใจ ที่มีผู้มาช่วยเหลือถึงในโรงเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่สะดวกมาก ประหยัดเวลา และการได้พบผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากสำหรับครูและผู้ปกครอง เนื่องจากทีมวิทยากรที่เป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์มาให้บริการถึงในโรงเรียน มาช่วยชี้แนะแนวทางให้ครูและผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพจริงได้ หากส่งครูออกไปอบรมภายนอกจะทำให้ครูต้องทิ้งชั้นเรียน ต้องหาครูมาสอนแทน และผลที่เกิดกับครูมีจำนวนน้อย นอกจากนี้ การออกบริการเชิงรุกถึงโรงเรียนช่วยทำให้ผู้ปกครองได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับทราบแนวทางในการพัฒนาบุตรหลานที่บ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Learning in 21st Century) เป็นทักษะแห่งอนาคตใหม่ที่ครูควรมีทักษะและคุณลักษณะที่ รองรับเข้าถึงเพื่อสร้างนวัตกรรมบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ ในอันที่จะพัฒนาผู้เรียนที่เป็นเยาวชนในยุคใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเพื่อให้เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มี คุณภาพ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้วิธีการ Active Learning โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง และมีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project based Learning) ซึ่งเป็นแนวคิดของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลผลิตที่เกิดขึ้นตามผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และชุมชนแห่งการปฏิบัติ (CoP) ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและยั่งยืน

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

1.1 ปกวิจัย 61.pdf

2. บทคัดย่อ.pdf

3. กิตติกรรมประกาศ.pdf

4. สารบัญ.pdf

5. บทที่ 1.pdf

6. บทที่ 2.pdf

7. บทที่ 3.pdf

8. บทที่ 4.pdf

9. บทที่ 5.pdf

10. บรรณานุกรม.pdf

12. ภาคผนวก ก.pdf

12.1 ภาคผนวก.pdf

13. ภาคผนวก ข.pdf

14. ภาคผนวก ค.pdf

15 ภาคผนวก ง.pdf

16. ภาคผนวก จ.pdf

17. ประวัติผู้วิจัย.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2562

ปีที่ตีพิมพ์ :2562

394 11 ก.ย. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่