ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนากิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเมืองโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านสุขภาพเป็นฐาน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ใจเตี้ย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

992-61-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเมืองโดย ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านสุขภาพเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุ จำนวน265 ครัวเรือน และผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 18 คน ในพื้นที่เทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนากิจกรรมการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม และทดสอบประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์กิจกรรมด้วยกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หากระบวนทัศน์ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพกิจกรรมตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (E1 / E2) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ด้วยการทดสอบค่า t แบบอิสระกัน (paired t-test) ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติและการปฏิบัติการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.40 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 ± 0.76 และค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.90 ± 0.74 ตามลำดับ) ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (82.66 / 88.24) และผลสัมฤทธิ์กิจกรรมมีค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้กิจกรรมสูงกว่าก่อนทดลองใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p = 0.006) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้เสนอแนะในส่วนของการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้โดยควรเพิ่มเวลาและกิจกรรมในแต่ละช่วงให้มากขึ้น

Abstract

The purpose of this research was to development health promotion learning process of elderly base on health lanna wisdom. The number of sample size was 256 elderly household and 18 Interested person in the area of Suthep sub - district Municipality Muang Chiangmai District, Chiangmai Province. Data collected by using questionnaires, non in-depth interview, focus group discussion and stakeholder group operational seminar were executed. Data including questionnaires, non - in depth interview and focus group were collected and analyzed for developing activities, Activity through stakeholder group operational seminar was efficiency and achievement tested. The descriptive statistics, content analysis, E1 / E2 according to the set criteria of 80 /80 and paired t-test were employed. The results indicated that the relationship aspect of lanna local wisdom health promotion in the knowledge, attitude and practice were on the modulate level (67.40 %, = 2.30 ± 0.76, 1.90 ± 0.74, respectively). For health promotion learning, activities the score of stakeholders knowledge post-learning and the score of pre-learning activities were 82.66 / 88.24. The efficiency gained in each activities were specified at 80.00 / 80.00 percent (E1 / E2). The average post learning score lanna local wisdom was significantly higher than the pre – leaning score (p = .006). In concluding, stakeholder suggested that to time and activity addition. Keyword(s): Health promotion learning process, Elderly in urban, Health lana wisdom

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ : 38 | ฉบับที่ : 6 ประจำเดือน : พฤศจิกายน - ธันวาคม 2562

ปีที่ตีพิมพ์ :2562

297 05 เม.ย. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่