ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การเปรียบเทียบคุณภาพซากและเนื้อของห่านพันธุ์จีนขาวและจีนเทา


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิราภรณ์ ชัยวัง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

1164-62-AGRI-CMRU

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบความแตกต่างของคุณภาพซากและเนื้อ ระหว่างห่านพันธุ์จีนขาวและจีนเทา การศึกษาครั้งนี้ใช้ห่านพันธุ์จีนขาวและจีนเทาอย่างละ 20 ตัว (รวม 40 ตัว) โดยให้หญ้าเนเปียร์สด (Pennisetum purpureum) อย่างเต็มที่ ให้อาหารข้นที่มีโปรตีน 18% เลี้ยงห่านนาน 120 วัน จากนั้นนำมาฆ่าและตัดแต่งเพื่อวัดคุณภาพซากและเนื้อ ข้อมูลทั้งหมดทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของทั้ง 2 กลุ่มโดยใช้ Student’s t-test จากผลการทดลองคุณภาพซาก พบว่าน้ำหนักซากเย็น เปอร์เซ็นต์ตับ และลำไส้ ห่านพันธุ์จีนขาวมีค่ามากกว่าห่านพันธุ์จีนเทาอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) สำหรับคุณภาพเนื้อ พบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ของเนื้ออก และสะโพกห่านจีนขาวมีค่ามากกว่าห่านจีนเทาอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์ความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อ พบว่าเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำขณะเก็บรักษา และเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำขณะปรุงห่านจีนขาวมีค่าน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) สำหรับค่าแรงตัดผ่านของเนื้อพบว่าเนื้อสะโพกห่านจีนขาวมีค่าน้อยกว่าห่านจีนเทาอย่างมีนัยสำคัญ (P=0.049) แต่ค่าการประเมินด้านประสาทสัมผัส พบว่าค่าความชุ่มฉ่ำเนื้อสะโพกห่านจีนขาวมีค่ามากกว่าห่านจีนเทาอย่างมีนัยสำคัญ (P=0.032) คำสำคัญ: คุณภาพซาก, คุณภาพเนื้อ, ห่านจีนขาว, ห่านจีนเทา

Abstract

The aim of this study was to investigate the differences of carcass and meat quality between White and Brown Chinese geese. This experiment was conducted by using White and Brown Chinese geese, 20 birds per group (total 40 birds), at slaughter age of 120 days. They were fed (ad libitum) with Napier grass (Pennisetum purpureum) and fed with concentrate at 18% protein. All geese were slaughtered and dressed for carcass and meat quality analysis. The experiment was conducted using Student’s t-test to compare the means. The result revealed that carcass quality in terms of cold carcass weight, percentage of liver and intestine of White Chinese geese was higher than Brown Chinese geese (P<0.05). The meat quality of breast and thigh showed that fat percentage and yellowness (b*) of White Chinese geese were higher than Brown Chinese geese (P<0.05). On the other hand water holding capacity, in terms of drip loss and grilling loss percentage of White Chinese geese was less than Brown Chinese geese (P<0.05). The shear force value of thigh showed that White Chinese geese was lower than Brown Chinese geese (P=0.049), but while sensory evaluation found that juiciness score of thigh showed that White Chinese geese was higher than Brown Chinese geese (P=0.032). Keyword(s): carcass quality, meat quality, White Chinese Geese, Brown Chinese Geese

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 "การผลิตสัตว์เหนือขีดจำกัดในยุคสมัยแห่งการพลิกผัน" วันที่ 2- 5 สิงหาคม 265 ณ สวนนงนุช พัทยา จังหวัดชลบุรี

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

329 13 พ.ย. 2562

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่