ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่


อาจารย์กัลยา พรหมวัชรนนท์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1268-62-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เรื่อง “ผลของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษา ยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้ ชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 โดยมีกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 85 คนจากการสมัครใจ ซึ่งเรียนในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชา ENG1102 ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 ในภาคเรียนที่ 1/2562 โดยได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมฯ และตอบแบบประเมินความคิดเห็นหรือ ความพึงพอใจของผู้ใช้ชุดกิจกรรมฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) ชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 3) แบบประเมินชิ้นงาน 4) แบบประเมินการผลิตภาพชิ้นงาน 5) แบบทดสอบก่อน ระหว่าง และหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรม และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมฯ โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสอบถาม การทดสอบ ซึ่งเป็นทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) พร้อมกับนำเสนอในการเขียนรายงานด้วยการพรรณนาประกอบตัวอย่าง และนำข้อมูล เชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสอบถามความคิดเห็นหรือความพึงพอใจ มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อทักษะ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ได้ผลการศึกษาโดยรวม ดังนี้ คือ ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยบทเรียนในรูปหนังสือ (Lesson Book) จำนวน 4 บทเรียน และสื่อบทเรียนในโปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint Software (PPT) รวมถึงกิจกรรมระหว่างเรียน อาทิ การผลิตชิ้นงาน (Assignment) การผลิตภาพชิ้นงาน (ELC Assignment) และแบบทดสอบประจำบทเรียน (Unit Test) ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพและความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง อย่างที่สุดในการพัฒนาทั้งทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และทักษะการเรียนตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 โดยได้ค่าประสิทธิภาพของของชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) การวิเคราะห์หาค่า ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับจุดประสงค์และเนื้อหาของแบบสอบถาม (IOC: Index of Item-Objective Congruence) ซึ่งมีค่า IOC อยู่ที่ระดับ 0.96 แปลความได้ว่า แบบสอบถาม ต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วยข้อคำถามที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่สร้างขึ้นโดยสามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างได้ และ 2) การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน สามารถอธิบายได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม ตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ทั้ง 3 ด้าน อาทิ ด้านเนื้อหา สื่อ กิจกรรม ด้านหัวเรื่อง และ ด้านการวัดผลประเมินผล โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60) 2. ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบหลังเรียน ( =28.28) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนเรียน ( = 24.09) และมีระดับค่า t-test ที่ -6.024 แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ของตนเองได้อย่างชัดเจน 3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 จากแบบสอบถามการจัดการเรียนการสอนตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 รวม 4 ด้าน คือ 1) ด้านเนื้อหา สื่อ กิจกรรมการเรียนการสอน 2) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน 3) ด้านผู้เรียน และ 4) ด้านผู้สอน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ประเมินผลและ แสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ ดี ( = 4.42)

Abstract

The purpose of this research and development was to examine the impact of using Thailand 4.0 Education-Based Activities on EFL Learners’ communicative English skills. The research was aimed: 1) to develop a package consistent with Thailand 4.0 Education-based activities in order to examine its effect on EFL learners’ communicative English skills; 2) to enhance EFL learners’ communicative English skills using Thailand 4.0 Education-based activities, and finally 3) to study the level of satisfaction of the EFL learners towards the learning activities using Thailand 4.0 Education-based activities. The population of this research consisted of 85 EFL learners. The data were gathered using a quantitative method utilizing a purposive sampling technique from the first-year students majoring in English in Faculty of Humanities and Social Sciences, Chiang Mai Rajabhat University. The participants were enrolled in the course of “Basic English Grammar for Communication 1 (ENG1102)” in the first semester of 2019, and participated in the learning activities adopted from Thailand 4.0 Education-based activities. The research instruments consisted of: 1) a questionnaire to study the general background knowledge involving of EFL learners 2) the package of Thailand 4.0 Education-based activities 3) an evaluation form of group assignment 4) the evaluation form for English Learning Community (ELC) assignment 5) the pre-posttests, and 6) the form pertaining to satisfaction level form towards the package. The observation, questions, test results were then used to analyze both the qualitative and quantitative contents. The content analysis was presented through descriptive writing with examples and the quantitative data from the questionnaire as well as the tests and the satisfaction form were subsequently analyzed to find the Mean (x̄ ) and Standard deviation (S.D.). These statistics are shown in the tables with descriptive writing. The results of this study are as follows: 1. The developed package, titled “A Package of Thailand 4.0 Education-based activities effecting on EFL learners’ communicative English skills”, consisted of a lesson book and a PowerPoint presentation, and included various learning activities for making assignments, for creating ELC assignments for Google Classroom, along with unit tests, which appeared to have effectively served the needs of EFL learners’ English competences for both communication and learning skills following the guidelines of Thailand 4.0 Education. The Index of Item-Objective Congruence (IOC) of the package evaluated by the experts showed 0.96, and reached the highest level of agreement at 4.60 out of 5 (x̄ = 4.60), showing a high agreement level based on 3 domains of the package, including: 1) the content, teaching technologies and learning activities 2) topics in each lesson, and 3) measurement and evaluation of learning activities. 2. The results of the achievements of the EFL learners’ communicative English skills, who used the package of Thailand 4.0 Education-based activities, revealed higher levels of English grammar achievements for communication after using the package at ( =28.28) with the mean score prior to using the package at ( = 24.09). Furthermore, the t-test score of 60.24% (-6.024), showed the improvement and achievement of the EFL learners’ communicative English skills following the use of the package of Thailand 4.0 Education-based activities. 3. The results of the satisfaction level of the EFL learners towards the learning activities, who used the package of Thailand 4.0 Education-based activities, and when considered within these 4 domains 1) the content, teaching technologies and learning activities 2) topics in each lesson 3) measurement and evaluation of learning activities 4) learners, and 5) instructors, reached the highest level at 4.42 (x̄ = 4.42). This value of Standard Deviation (SD.) is less than 1 showing a high agreement level of satisfaction.

ไฟล์งานวิจัย

บทที่ 1.pdf

บทที่ 2.pdf

บทที่ 3.pdf

บทที่ 4.pdf

บทที่ 5.pdf

ปก.pdf

ประวัติ.pdf

ภาคผนวก.pdf

ส่วนนำ.pdf

เอกสารอ้างอิง.pdf

120 18 มิ.ย. 2562

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่