
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาต้นแบบพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.สุจิรา อัมรักเลิศ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1286-63-HUSO-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำนักหอสมุด ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความต้องการพิเศษของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความต้องการพิเศษ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษจำนวน 40 คน และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความคิดเห็นในการออกแบบพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้จากนักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ 4 คน นักศึกษาปกติ 4 คน อาจารย์ 3 คน และเจ้าหน้าที่จากศูนย์พัฒนามนุษย์และบุคคลที่มีความพิการ 2 คน
ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาต้นแบบพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผู้พัฒนาและหรือผู้ให้บริการควรให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 3 องค์ประกอบได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพให้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่ม การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อการช่วยเหลือ (Assistive technology) นักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ และบุคลากรและบริการที่ให้บริการบริเวณพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้
Abstract
The purposes of this study were 1) to study undergraduate students with disabilities use of Chiangmai Rajabhat University Library services and learning space and their views’ regarding the designing of learning space and 2) to develop learning space model for supporting students with disabilities. The study employed a mixed methods approach involving a survey of forty students with disabilities followed by semi-structure, one-on-one interview. The participants for the interview phrase were four students with disabilities, four normal students, three instructors who were responsible for teaching students with disabilities, and two staffs from Disability and Human Development Centre, Chiang Mai Rajabhat University. Results from both quantitative and qualitative parts were used to develop a learning space model for supporting students with disabilities. Findings suggest that to design a learning space for students with disabilities, the designers or developers should concern physiological inclusion (the infrastructure attribute of a learning space), technology inclusion (both digital technology and assistive technology), and people and service inclusion.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2565 หน้า 56 - 78
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
24 30 เม.ย. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555