ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การใช้สื่อจำลองโต้ตอบเสมือนจริง PhET สำหรับการสอนไฟฟ้า


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ คำเจริญ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1302-63-SCI-CMRU

บทคัดย่อ

โครงการ Physics Education Technology (PhET) ประกอบด้วย แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริงมากกว่า 50 แบบจำลองซึ่งอยู่บน https://phet.colorado.edu แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริงประกอบไปด้วยแบบจำลองในวิชา ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี วิทยาศาสตร์โลก และคณิตศาสตร์ บทความวิจัยนี้มุ่งเน้นสำรวจความเข้าใจที่มีต่อกิจกรรมการสอนวงจรไฟฟ้ากระแสตรงด้วยการใช้แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริง แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริงเรื่องการสร้างวงจรไฟฟ้าให้รายละเอียดเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า  และอุปกรณ์ในวงจรไฟฟ้าเช่น สวิตซ์ แบตเตอรี่ ตัวต้านทานไฟฟ้า สายไฟ หลอดไฟ แอมมิเตอร์ และโวลต์มิเตอร์ ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาที่เรียนโดยใช้แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริงเรื่องการสร้างวงจรไฟฟ้าให้ผลตอบรับในเชิงบวกกับการสร้างวงจรไฟฟ้ากระแสตรง โดยวิเคราะห์จากการตอบแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับแบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริง  ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลอย่างชัดเจนว่าการใช้แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริงสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาในเรื่องการสร้างวงจรไฟฟ้า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริงในการเรียนการสอน โดยระบุว่า ช่วยให้นักศึกษาสามารถสร้างมโนมติทางฟิสิกส์ ตลอดจนสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Abstract

Physics Education Technology (PhET) consists of more than 50 simulations on https://phet.colorado.edu The simulations include Physics, Biology, Chemistry, Earth Science and Mathematics. This article focuses on an activity for teaching direct current circuit by using Circuit Construction Kit (CCK) simulation. The CCK simulation offers an animation of direct current. It presents an animated connection with switches, batteries, resistors, wires, light bulbs, ammeters, and voltmeters. The results of this study reveal that the students who engaged with CCK performed positive response for constructing direct current circuit. By using Evaluation Questionnaire for Computer Simulations (EQCS) to survey students’ response to CCK, it is evident that the use of CCK can be effective in encouraging students learning of direct current circuit. Significantly, most of the students agree with the use of CCK in teaching and learning since the use of CCK can help them to construct a conceptual understanding of Physics, regarding the visibility and the use of analogy.

ไฟล์งานวิจัย

รายงานโครงการวิจัยฉบับสมบรูณ์.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2565)

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

40 09 เม.ย. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่