ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู


อาจารย์ ดร.จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1355-63-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู มีวัตถุประสงค์ในการถอดรูปแบบองค์ความรู้กระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู และภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับจัดทำระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้กระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู สำหรับนำไปพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการผลิตลำไยนอกฤดูและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการ SDLC ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพชุมชน อันจะนำไปสู่การเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มชุมชนและประชาชนทั่วไปในพื้นที่อื่นๆ งานวิจัยเริ่มต้นตั้งแต่ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู ได้แก่ หน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน ประธานวิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรที่ปลูกลำไยนอกฤดู ในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มาวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างที่เก็บข้อมูลในรูปแบบของฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งมีการสำรวจรูปแบบระบบสารสนเทศที่เหมาะสมในการจัดการองค์ความรู้และนำเสนอข้อมูลกระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู โดยสามารถนำเสนอข้อมูลทั้งที่เป็น ข้อความ รูปภาพ แผนที่การเดินทาง และวิดีโอเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู ผ่านระบบสารสนเทศฯ และการอ่าน QR code ภายหลังจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ติดตั้งระบบ และทดลองใช้งาน ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการผลิตลำไยนอกฤดู ด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจให้แก่ บุคคลทั่วไป เกษตรกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมทำเวทีชุมชน รวมทั้งสิ้น 60 คน พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมในการทดลองใช้ระบบสารสนเทศ คือ 4.59 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research,are to extract knowledge and create a database system for off-season longan production process and to develop an information system to manage  the process and preserve local wisdom with sustainable participation of farmers in communities by SDLC process. The reseach methodology used in this study is research and development approach by including the participation of the community members in order to promote the members to improve their community. This will lead to a model for other communities in different areas. The data are collected from Off-Season Longan Production Process stakeholders, i.e., local government agencies, community leaders, chairman of the community enterprise and farmers in Bann Hong District. These data are stored in the electronic database and find the suitable information in order to manage the knowledge and present the process of off-season longan production. The presentation including text, images, maps and videos.  It will be presented through an information system and QR code reading. After the information system is developed, installed, and tested, the questionaires are distribute to 60 samples. The results show that the overall satisfaction in using the propose information system is 4.59, which is very high satisfaction level.

ไฟล์งานวิจัย

1_ปกวช.-63.pdf

2_กิติกรรมประกาศ.pdf

3_บทคัดย่อ.pdf

4_สารบัญ.pdf

บทที่ 1 บทนำ.pdf

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย.pdf

บทที่ 4 ผลการวิจัย.pdf

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ.pdf

บรรณานุกรม.pdf

ประวัติผู้วิจัย.pdf

ภาคผนวก ก.pdf

ภาคผนวก ข.pdf

ภาคผนวก ค.pdf

ภาคผนวก ง.pdf

20 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่