ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลแม่วิน อำเภอแม่วางจังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1370-63-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน แหล่งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมในชุมชน และโบราณสถาน ของชุมชนตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มาทำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศการท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ด้วยกระบวนการ SDLC งานวิจัยเริ่มต้นตั้งแต่ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ หน่วยงานราชการในตำบลแม่วิน  ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในตำบลแม่วิน มาวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างที่เก็บข้อมูลในรูปแบบของฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งมีการสำรวจรูปแบบการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในการให้ข้อมูล บรรยากาศ และเส้นทางการเดินทาง จากนั้นจึงทำการสำรวจเพื่อหารูปแบบของสารสนเทศที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลตลอดจนแผนที่ท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ/เชิงอนุรักษ์/เกษตร เชิงวัฒนธรรม และเชิงศิลปะ/หัตถกรรมในชุมชน สถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มปางช้าง สถานที่ท่องเที่ยวลองแพชมธรรมชาติ และสถานที่อำนวยความสะดวก โดยสามารถนำเสนอข้อมูลทั้งที่เป็น ข้อความ รูปภาพ และวิดีโอเพื่อถ่ายทอดบรรยากาศของสถานที่ท่องเที่ยวผ่านการอ่าน QR code และ Image AR นอกจากนี้ยังสามารถทำการติดตั้งแอปพลิเคชันแผนที่ในการเดินทางไปยังสถานที่สนใจบนโทรศัพท์มือถือผ่านการอ่าน QR code หรือสามารถใช้แผนที่เดินทางผ่านทาง Website ภายหลังจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ติดตั้งระบบ และทดลองใช้งาน ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจให้แก่ นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมทำเวทีชุมชน รวมทั้งสิ้น 100 คน พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมในการทดลองใช้ระบบสารสนเทศ คือ 4.72 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

Abstract

The main object of the research, the integration of Information Technology for Sustainable Tourism with the Participation of the Mae win Community, Mae Wang District, Chiang Mai Province, is to implement the database of community attractions, community handicrafts, and archaeological site in Mae win Community, Mae Wang District, Chiang Mai Province by applying the information technology for developing sustainable tourism potential with community participation. Another objective of this research is to publish the tourism information technology via the internet to tourists and interested people. By applying SDLC processes, the research started by studying and collecting data from tourism stakeholders, I.e., local government agencies in Mae Win Sub-District, community leaders, entrepreneurship, and tourism-related parties Mae Win Sub-District. These data were analyzed, design and stored in the database in electronic format. The research also includes searching for the appropriate model to integrate information technology to present the attractions. The appropriate model is used for developing the information system which provides travel information, travel atmosphere, and travel route to serve the tourism with integration services (e.g., natural travel, ecotourism, agricultural tourism, cultural travel, arts and handicrafts travel, elephant camp, nature rafting, and rest area location). The information is presented in texts, images, and videos for sharing the atmosphere in attractions through QR code scanning and Image AR. Moreover, the application can be installed on the mobile phone to search for directions to interesting places by scanning the QR code or using the traveling map on the website. After the information system is developed, installed, and tested, the satisfaction evaluation results using questionnaires of 100 samples found that the overall satisfaction is 4.72, which is very high satisfaction level.

ไฟล์งานวิจัย

1_ปกวช.-63.pdf

2_กิติกรรมประกาศ.pdf

3_บทคัดย่อ.pdf

4_สารบัญ.pdf

บทที่ 1 บทนำ.pdf

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย.pdf

บทที่ 4 ผลการวิจัย.pdf

บทที่ 4 ผลการวิจัยปรับ.pdf

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ.pdf

บรรณานุกรม.pdf

ประวัติผู้วิจัย.pdf

ภาคผนวก ก.pdf

ภาคผนวก ข.pdf

ภาคผนวก ค.pdf

ภาคผนวก ง.pdf

ภาคผนวก จ.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1

ปีที่ตีพิมพ์ :2566

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

23 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่