ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษาแนวทางในการพัฒนาชาจากดอกกาแฟเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน


อาจารย์ ดร.พสุ ปราโมกข์ชน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1385-63-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแปรรูปดอกกาแฟให้เป็นชาโดยใช้วิธีการที่ไม่ยุ่งยาก 2) เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกของสารสกัดจากดอกกาแฟ 3) เพื่อศึกษาความยอมรับในกลิ่นรสของชาจากดอกกาแฟที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อศึกษาปริมาณคาเฟอีนในชาจากดอกกาแฟ ผลการศึกษาการแปรรูป 4 แบบ คือ A:การผึ่งลมในที่ร่มเป็นเวลา 3 วัน B:การตากแดดเป็นเวลา 3 วัน C:การอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และ D:การอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง พบว่าการแปรรูปแบบ A จะทาให้สีของดอกกาแฟเป็นสีน้าตาลเล็กน้อย ในขณะที่การใช้ความร้อนจะทาให้ดอกกาแฟกลายเป็นสีน้าตาลเข้ม เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าฤทธิ์ต้านอุมูลอิสระของชาดอกกาแฟ พบว่าแบบ A จะให้ค่าต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดคือ 16.37% เมื่อเทียบกับสารละลาย Torlox และเมื่อศึกษาปริมาณของฟีนอลิกรวมโดยใช้แกลลิกเป็นมาตรฐาน พบว่าในสารสกัดจากชาจากดอกกาแฟที่แปรรูปแบบ A จะให้ค่าสมมูลแกลลิกเท่ากับ 35.58μg/mL ซี่งสูงที่สุด และไม่พบคาเฟอีนในชาดอกกาแฟตัวอย่างทุกรูปแบบของการแปรรูป นอกจากนี้เมื่อนามาทดสอบความยอมรับในกลิ่นและรสของชาที่แปรรูปได้ พบว่าชาดอกกาแฟที่แปรรูปแบบ A จะได้รับการยอมรับมากที่สุดด้วยคะแนน 20.6 ± 0.33 คะแนน

Abstract

Objective of this research was 1) to study the process for produce the tea form coffee flowers using a simple method, 2) to study the antioxidant capacity and total phenolic content of coffee flower extract, 3) to study acceptability of coffee flower tea and 4) To study the caffeine content of the coffee flower tea. The results of the study, there are 4 type of coffee tea production A: Use indoor airtight for 3 days, B: Drying under the sun light for 3 days, C: Use baking on 80ºC for 1 hour and D: Use baking on 80ºC for 3 hours. After processing, coffee flower tea Type A will slightly brown the color of the coffee flowers. While using heat will turn the coffee flowers to dark brown color. When studying the antioxidant activity, it was found that the antioxidant activity of coffee flower tea type A had the highest antioxidant value at 16.37% compared to Torlox solution. And total phenolic content by using gallic acid as standard. It was found that the type A-processed coffee flower tea extract gave the highest gallic equivalent of 35.58μg/mL. And not found the caffeine in any coffee flower tea sample. In addition, when tested for the flavor and taste tolerance of all processed coffee flower tea. It was found that the type A coffee flower tea was the most accepted with a score of 20.6 ± 0.33 points.

ไฟล์งานวิจัย

เอกสารอ้างอิง.pdf

กิตติกรรมประกาศ.pdf

บทคัดย่อ abstract.pdf

บทที่ 1.pdf

บทที่ 2.pdf

บทที่ 3.pdf

บทที่ 4.pdf

บทที่ 5.pdf

ปกนอก ปกใน.pdf

ประวัตินักวิจัย.pdf

รายการสัญลักษณ์ และคำย่อ.pdf

สารบัญ.pdf

35 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่