
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริม การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมันต์ สะสอง
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1386-63-MAE-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้านอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ละว้า ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มชาติพันธุ์ละว้าในหมู่บ้านละอูบ และบ้านดง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ได้สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน คือ สร้อยคอพร้อมจี้รูปลักษณ์ตามความเชื่อและเรื่องเล่าจากบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ละว้า (2) ผลิตภัณฑ์ผ้าทอละว้าร่วมสมัย และ (3) ผลิตภัณฑ์สูบู่กากกาแฟ ทั้งนี้กลุ่มชาติพันธุ์ละว้าได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้านอัตลักษณ์ด้านความเชื่อ ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การแต่งกาย ภาษาพูด และอาหารการกิน เป็นต้น โดยได้ใช้ภูมิปัญญาในการถ่ายทอดความรู้และกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านผลิตภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ละว้า ให้มีจุดเด่นเฉพาะกลุ่มที่ควรค่าแก่การถ่ายทอดให้ผู้คนทั่วไปได้รับรู้ เข้าใจ และเข้ามาสัมผัสเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม อันเป็นกุญแจสำคัญทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ละว้ามีงานทำ มีอาชีพ
มีรายได้ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
Abstract
This research aimed to develop products of the Lawa community using creative innovation and to promote community tourism through the learning process of Lawa ethnic identity and their products. The sample group was 400 people from the Lawa ethnic group in La-oop and Ban Dong village, Mae Hong Son Province. The research instruments were questionnaires and workshops. The results of the research showed that the development of products in the Lawa ethnic community through creative innovation created three prototype products: (i) silverware, like necklaces with faith-based appearance and stories from the ancestors of the Lawa ethnic group, (ii) Contemporary Lawa fabric products, and (iii) coffee grounds scrubbing soap. The Lawa ethnic group promotes community tourism through the process of learning about their identity in faith and cultural aspects including traditional attire, spoken language, and food. Local wisdom is used to transfer knowledge and activities through the products of the Lawa ethnic group to provide a unique feature that is suitable for the public to understand and learn. This is the key that makes Lawa people have jobs opportunity and promotes sustainable tourism in the Lawa ethnic community.
ไฟล์งานวิจัย
3-กิตติกรรมประกาศ & บทคัดย่อ & สารบัญ.pdf
5-บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf
6-บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย.pdf
8-บทที่ 5 การสรุปผล อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :Journal of Management Information and Decision Sciences Volume 24, Special Issue 6, 2021 Volume 24, Special Issue 6, 2021
ปีที่ตีพิมพ์ :2564
37 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th