ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

อัตลักษณ์ชนชาติไทใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญญา สะสอง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1388-63-HUSO-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ชนชาติไทใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านอัตลักษณ์ชนชาติไทใหญ่ และเพื่อจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์และสืบสานอัตลักษณ์ไทใหญ่เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมุ่งศึกษาวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ชาวไทใหญ่ในพื้นที่
อำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า อำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 5 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนชาวไทใหญ่มีการรักษารูปแบบวิถีชีวิต แนวคิดความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา มีการรักษา สืบสาน และถ่ายทอดอัตลักษณ์ไทใหญ่ให้กับกลุ่มเยาวชนและเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยทั่วไป ชุมชนชาวไทใหญ่บ้านแพมบกมีศักยภาพเพียงพอในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านอัตลักษณ์ชนชาติไทใหญ่ระดับชุมชน โดยเชื่อมโยงกับศูนย์ไทใหญ่ศึกษาที่เป็นศูนย์กลางในตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเป็นชุมชนต้นแบบด้านอัตลักษณ์ชนชาติไทใหญ่ ตามโมเดล “FICES” (Sustainable Education Community Identity of Tai-Yai Faith) และเครือข่ายชุมชนชาวไทใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์และสืบสานอัตลักษณ์ไทใหญ่เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มผู้นำชุมชนที่ผ่านการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการร่วมกัน

Abstract

This study of the identity of Tai-Yai ethnic to promote community tourism in Mae Hong Son province is a participatory action research that aimed to find a format for building a learning center for Tai-Yai identity and to establish a network of Tai-Yai identity conservation groups that is linked to community tourism in Mae Hong Son Province. This study focused on the way of life and identity of Tai-Yai people in five districts in Mae Hong Son province include Pai, Pang Mapha, Muang, Khun Yuam, and Mae La Noi. The results of the research were as follows: the Tai-Yai communities maintain their way of life, the concept of belief in the supernatural, and Buddhism beliefs, pass on their identity to the younger generation, and transfer their identity to the general public. The Tai-Yai community of Pambok village has the potential to build a learning center for the Tai-Yai identity at the community level by linking with the Tai-Yai Education Center, Mae Hong Son province which is a “FICES” model (Sustainable Education Community Identity of Tai-Yai  Faith). The Tai-Yai community network has jointly established a committee of the Tai-Yai identity conservation group linking to community tourism in Mae Hong Son Province which consists of representatives of community leaders.

ไฟล์งานวิจัย

1.ปกนอก-ปกในรายงานการวิจัย.pdf

2.บทคัดย่อภาษาไทย.pdf

3. Abstract.pdf

4.กิตติกรรมประกาศ.pdf

5. สารบัญ-ตาราง-ภาพ.pdf

6.บทที่ 1 บทนำ.docx.pdf

7.บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf

8.บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย.pdf

9.บทที่ 4 ผลการวิจัย.pdf

10.บทที่ 5 การสรุปผล อภิปรายผลการวิจัย และข้อ.pdf

12. ภาคผนวก.pdf

13. ประวัตินักวิจัย.pdf

29 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่