ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าใน ร้านขายอาหาร ร้านรถเข็น แผงลอย ย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจษฎาพล กิตติพัฒนวิทย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1401-63-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การปรับปรุงประสิทธิภาพ ตําแหน่งการจัดวางสินค้าในร้านขายอาหาร ร้านรถเข็นแผงลอย ย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์ดังนี้  เพื่อศึกษาการจัดวางสินค้าในร้านขายอาหาร ร้านรถเข็น แผงลอย ย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อออกแบบปรับปรุงประสิทธิภาพตําแหน่งการจัดวางสินค้าในร้านขายอาหาร ร้านรถเข็น แผงลอย ย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประเมินประสิทธิภาพตําแหน่งการจัดวางสินค้าในร้านขายอาหาร ร้านรถเข็น แผงลอย ย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ ประชากร ได้แก่ กลุ่มร้านอาหาร ย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มประชาชนนักท่องเที่ยวที่เคยท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ความต้องการด้านรูปแบบ แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบที่ออกแบบ แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นต้น

พบว่า ร้านก๋วยเตี๋ยว ด้านประโยชน์ใช้สอย มีรูปแบบมีความสะดวกสบายในการใช้งานมีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ 4.75 ร้านอาหารตามสั่ง ด้านประโยชน์ใช้สอย  รูปแบบมีความสะดวกสบายในการใช้งาน  งาน มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ 4.84 ร้านน้ำผลไม้ปั่น ด้านประโยชน์ใช้สอย  รูปแบบมีโครงสร้างที่แข็งแรง มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ 4.68

Abstract

Efficiency Improvement, the Location of Product Placement in Food Shops, Street Carts, and Stalls and Night Food Markets in the Old Moat, in Chiang Mai Province. The objectives of this study were to study product placement in food shops, street carts and stalls and night food markets in the old moat, in Chiang Mai Province, design and improve the efficiency location of product placement in the food shops, street carts and stalls and night food markets in the old moat, in Chiang Mai Province, assess the efficiency location of the product placement in the food shops, street carts and stalls and night food markets in the old moat, in Chiang Mai Province. The population of 100 people were the restaurant group in the night food markets in the old moat, in Chiang Mai Province. The research tools were the format requirements interview form, the questionnaire about the designed format, the satisfaction assessment form, etc.

The research found that the noodle shops, their utility sides, have beneficial models and comforts in use by the average of 4.75, it was the most average. The restaurants with Thai food cooked to order, their utility sides, have beneficial models and comforts in use by the average of 4.84, it was the most average. The fruit smoothie shops have solid-structured models in use by the average of 4.68, it was the most average.

ไฟล์งานวิจัย

เล่มสมบูรณ์ ลงลายน้ำ อ.เอ็ม.pdf

20 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่