
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียน :
1406-63-SCI-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของตลาดอาหารกลางคืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา พบว่า แหล่งกำเนิดมลพิษจากตลาดอาหารกลางคืนที่สำคัญ ได้แก่ ขยะมูลฝอย ซึ่งส่วนมากจะเป็นขยะประเภท ทั่วไป ได้แก่ แก้วน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก ตะเกียบใช้แล้ว และขยะเปียก ได้แก่ เศษผัก โดยมีปริมาณขยะมูลฝอย อยู่ที่ 1-5 กิโลกรัม/ร้าน/วัน และมลพิษจากน้ำเสีย ได้แก่ น้ำชะล้างอุปกรณ์ น้ำทิ้งจากเศษอาหาร มีปริมาณน้ำเสียอยู่ที่ 5-25 ลิตร/ร้าน/วัน ในส่วนของระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อม ทั้งทางด้าน น้ำเสีย ขยะมูลฝอย และอากาศ ผู้ประกอบการตลาดอาหารกลางคืน มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก ในส่วนของการมีส่วนร่วม ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติการ และด้านการประเมินผล ผู้ประกอบการตลาดอาหารกลางคืนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก
โดยรูปแบบ/ทางเลือกในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตลาดอาหารกลางคืน ที่เหมาะสมประกอบด้วย การให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน การใช้ระบบรวบรวมน้ำเสียเพื่อนำไปบำบัดให้ได้มาตรฐานและ การแยกขยะมูลฝอยและขยะเปียก เพื่อนนำใช้ประโยชน์ และกำจัดอย่างถูกวิธี
Abstract
Participatory action research for environment management from the night market food in the old town chiang mai province, aims to obtain appropriate models for the management of the environmental problems of the eco-friendly night food market by using technology suitable for the socio-economic and environmental conditions, the results of the study found that, the main sources of pollution from the night food market are solid waste, most of which are general types of waste such as plastic drinking glasses, plastic bags, used chopsticks, and wet waste, including economy, with the amount of rubbish at 1-5 kilograms per shop per day and pollution from wastewater such as tap water, equipment, waste water from food waste, the amount of wastewater is 5-25 liters per shop per day. In terms of the level of knowledge and understanding about environmental pollution in terms of wastewater, solid waste and air, night food marketing had a high level of knowledge and understanding. In terms of engagement, including planning, operations, and evaluation, night food market operators were at a high level.
An appropriate model for managing environmental problems in the night food market area consists of providing entrepreneurs with knowledge and understanding on environmental problems, treatment of wastewater using simple technology, and the use of a wastewater collection system for implementation. To meet the standards and separation of solid waste and wet separation to be utilized and disposed of properly.
ไฟล์งานวิจัย
บทที่-2-เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง-63.pdf
บทที่-3-วิธีดำเนินการวิจัย-63.pdf
21 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th