
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการตลาดดิจิทัลของข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อสนับสนุนห่วงโซ่มูลค่าใหม่ทางการพาณิชย์
อาจารย์วลัยพร สุพรรณ
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1416-64-MGT-TSRI
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการตลาดดิจิทัลของข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อสนับสนุนห่วงโซ่มูลค่าใหม่ทางการพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์พื้นฐานความรู้และความต้องการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานด้านการตลาดดิจิทัลที่ช่วยสนับสนุนห่วงโซ่มูลค่าใหม่ทางการพาณิชย์ของข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการดำเนินงานทางการตลาดดิจิทัลให้เหมาะสมกับศักยภาพของกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบฟอร์ม รายงาน และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนด้านการตลาดดิจิทัลของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์จังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วยกระบวนการของวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) จากนั้นประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศของผู้ดูแลระบบของชุมชน จำนวน 9 คน และผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 400 ชุด ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ ผลการศึกษา พบว่า 1) การปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีกระบวนการปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ใช้น้ำฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้มีคุณประโยชน์สูง โดยจะปลูกตามฤดูกาลปีละ 1 ครั้ง สายพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกคือ ข้าวบือโป๊ะโละ มีลักษณะเมล็ดข้าวกลมใหญ่คล้ายข้าวญี่ปุ่น มีรสชาติอร่อย หวานอ่อนๆ เนื้อสัมผัสเคี้ยวแล้วนุ่มหนึบ ซึ่งจะปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคที่ชื่นชอบข้าวดอย 2) การดำเนินงานด้านตลาดดิจิทัลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์ โดยส่งเสริมให้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการสื่อสารและเผยแพร่เนื้อหา เช่น การบอกเล่าเรื่องราวของชุมชน กิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน เป็นต้น เพื่อประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น 3) ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการตลาดดิจิทัลของข้าวอินทรีย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยพัฒนาในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ (Web Application) และใช้ชื่อโดเมนเนม https://www.khaosammok.com
การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยมีดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับสนับสนุนการตลาดดิจิทัลข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้านเพศ ด้านระดับการศึกษา ด้านช่วงอายุ ด้านรายได้ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทำการทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe' method) พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ต่ำกว่า 25,001 บาท มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศด้านความถูกต้องของระบบต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 45,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ 25,001 – 35,000 บาท มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่ด้านความถูกต้องของระบบต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 45,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ต่ำกว่า 25,001 บาท มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศด้านการรักษาความปลอดภัยระบบสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ 35,001 - 45,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ต่ำกว่า 25,001 บาท มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศด้านส่วนติดต่อกับผู้ใช้ต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 45,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
A research project entitled Application of Digital Technology for Digital Marketing of Organic Rice in Mae Hong Son Province to Support New Commercial Value Chains was aimed as follows: 1) to analyze the knowledge base and needs on digital technology of organic rice producers in Mae Hong Son Province; 2) to analyze digital marketing approaches that support the new commercial value chain of organic rice in Mae Hong Son Province, and; To develop and apply digital technology tools for digital marketing operations to suit the potential of organic rice producers in Mae Hong Son Province. Data were collected from documents, forms, reports and interviews with relevant parties to be analyzed, design and develop an information system for digital marketing support of organic rice growers and processors’ community enterprises in Mae Hong Son Province by using the System Development Life Cycle (SDLC) process. Then, an assessment was conducted on efficiency of the information system of 9 community administrators and general users, a total of 400 sets, by accidental sampling. The results showed that 1) organic rice growing and processing in Mae Hong Son Province were a natural growing process with no use of chemicals, but use of rainwater and natural water sources, making high benefits. It was grown in season once a year. The most popular rice variety is Bue Po Lo. Its appearance is a big round rice grain like Japanese rice with delicious and mild sweet taste, and chewy texture. It was grown for household consumption and selling to consumers who love mountain rice. 2) digital marketing operation of the organic rice growers and processors’ community enterprises was done through encouraging the application of digital technology to communicate and disseminate content, such as telling stories of the community, activities, attractions of the community, etc., to promote to the target customers, including increasing online distribution channels of products. 3) Development of information systems to support digital marketing of organic rice in Mae Hong Son province was made in the form of a web application under a domain name, https://www.khaosammok.com.
The research hypothesis test is as follows: Personal factors were correlated with the efficiency of information systems used to support digital marketing of organic rice in Mae Hong Son Province, including gender, education level, age range and income. Through One-way ANOVA analysis and pair test by Scheffe' method, it was found that the respondents with incomes less than 25,001 baht had lower average scores in assessment of efficiency of the information system on system accuracy than those with incomes higher than 45,000 baht with statistical significance at 0.01 level; the respondents with incomes of 25,001 – 35,000 baht had lower average scores in assessment of efficiency of the information system on system accuracy than those with incomes higher than 45,000 baht with statistical significance at 0.01 level; the respondents with incomes below 25,001 baht had higher average scores in assessment of efficiency of the information system on system security than those with incomes of 35,001 - 45,000 baht with statistical significance at 0.05 level, and; the respondents with incomes less than 25,001 baht had lower average scores in assessment of efficiency of the information system on user interface than those with income higher than 45,000 baht with statistical significance at 0.05 level.
ไฟล์งานวิจัย
Appendix1 - แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์.pdf
Appendix2 - คู่มือการใช้งาน SuperAdmin.pdf
Appendix3 - คู่มือการใช้งาน Admin.pdf
Appendix4 - คู่มือการใช้งาน User.pdf
Appendix5 - ตัวอย่างงาน Infographic.pdf
27 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th