ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์ ดร.ธัญนันท์ ฤทธิ์มณี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1450-64-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรแปรรูปและความพร้อมของปัจจัยการผลิตที่สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ 2) เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับยกระดับทางการค้าให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อออกแบบ      บรรจุภัณฑ์ที่เป็นการสร้างอัตลักษณ์ของสินค้าเกษตรแปรรูปที่สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และ 4) เพื่อวิเคราะห์ตลาดเชิงลึกและช่องทางตลาดใหม่ของวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรแปรรูป ให้แก่กลุ่มผู้แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรจากกระเทียม ข้าว พริกกะเหรี่ยง และถั่วลายเสือ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยลงพื้นที่ศึกษาในสถานที่จริงทั้งหมด 4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรบ้านนาปลาจาด (กลุ่มแปรรูปกระเทียม) 2) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มการเกษตรวิสาหกิจชุมชน (กลุ่มแปรรูปข้าว) 3) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านทุ่งแพม (กลุ่มแปรรูปพริกกะเหรี่ยง) และ 4) กลุ่มน้ำมันงาเพื่อสุขภาพบ้านปางหมู (กลุ่มแปรรูปถั่วลายเสือ)

          จากผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการผลิตและด้านการตลาดของทั้ง 4 กลุ่ม ในภาพรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีความเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับสูง โดยตำแหน่งของวิสาหกิจชุมชน คือการทำการลงทุนหรือขยายการลงทุน แสดงถึงความสามารถสร้างผลตอบแทนสูงสุดได้ในอนาคต ในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์กระเทียมผงบรรจุแคปซูล   2) ผลิตภัณฑ์ข้าวพองธัญพืชเคลือบคาราเมล 3) ผลิตภัณฑ์น้ำพริกดำ (พริกกะเหรี่ยง) และ 4) ผลิตภัณฑ์ถั่วลายเสือเคลือบคาราเมลรสกาแฟ อีกทั้งได้ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อความหมายถึงอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม โดยศึกษาบริบทของชุมชนทั้ง 4 ชุมชน แล้วถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ ที่อยู่บนพื้นฐานของความต้องการของผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่ง จากนั้นนำมาวิเคราะห์โมเดลธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรแปรรูปในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และสร้างโมเดลธุรกิจของกลุ่มผู้แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรทั้ง 4 กลุ่ม ด้วย Lean Canvas โดยศึกษาและวิเคราะห์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 4 กลุ่ม นอกจากนี้ผลของการวิจัยนี้ได้ถูกเผยแพร่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนเพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ต่อไป

Abstract

        Enhancement of Community Enterprise Agricultural Products to Support Sustainable Tourism in Mae Hong Son Province have the objectives for 1) to assess the potential of community enterprises of processed agricultural products and the readiness of production factors that support new tourist attractions, 2) to develop processed agricultural products and community product standards for upgrading trade for community enterprises, 3) to design packaging to create the identity of processed agricultural products in line with new tourist attractions and 4) to analyze the market in depth and new market channels of community enterprises for processed agricultural products for 4 groups of processed agricultural products from garlic, sesame and bean in Mae Hong Son province include 1)  Community Enterprise of Ban Na Pla Chad Farmers Group (garlic processing group) 2) Community Enterprise, Agricultural Group, Community Enterprise (rice processing group) and 3) Ban Thung Pam Food Processing Group Community Enterprise (bird chilli processing group) and 4) Sesame oil group for health Ban Pang Moo Group (tiger stripe peanut processing group).

         The results show that in the enterprise community overview that analze of production environment and marketing of 4 groups are high level of entrepreneurship to the investment or expansion of investment. It was showed that they will make the maximum profitability in the future. For the development of processed agricultural products 4 products that used the local ingredient to create identify for 4 community enterprise groups for example garlic powder capsules product, caramel-coated cereal puffed rice product, black chilli paste product (bird chilli) and the last product is coffee caramel coated tiger stripe peanut product. Creating and development packaging for processed agricultural products to design of the logo and packaging to show the identity of each group. The last for this research is create business models for 4 groups of processed agricultural products in Mae Hong Son province. In addition, the results of this research has been distributed to stakeholders and community for apply this knowledge in the future.

ไฟล์งานวิจัย

การยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารคหเศรษฐศาสตร์ ปีที่ 65 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2565

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

28 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่