ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มชาติพันธุ์


อาจารย์จุมพิต ศรีวัตนพงศ์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1469-64-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิด   การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษารหัส 63 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 25 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถทางการสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ( )        ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า

1.  รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อ   การสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน             2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน 3) ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ขั้นเพียรศึกษาเนื้อหา  ขั้นฝึกภาษาผ่านกลุ่ม ขั้นลุ่มลึกในการสื่อสาร และขั้นประเมินผลผ่านการใช้ และ 4) การวัดและประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนจากผู้เชี่ยวชาญพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

2. นักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์มีคะแนนความสามารถในการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามรูปแบบ   การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก 

Abstract

The purposes of this study were as follows: 1) to develop an instructional model to teach Thai as a second language based on the communicative approach and  cooperative learning to enhance the communicative abilities of ethnic student teachers; 2) to study the communicative abilities of ethnic student teachers after the use of the instructional model to teach Thai as a second language based on the communicative approach and cooperative learning and 3) to examine the satisfaction of the students with the instructional model to teach Thai as a second language based on the communicative approach and cooperative learning to enhance the communicative abilities of ethnic student teachers. The participants of the study were students with the student code 63, majoring in Early Childhood Education, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. They were ethnic students who were in the Khru Rak Thin project. There were 25 of them. The study used the purposive sampling method. The research instruments were the communicative ability test, the instructional plan and the satisfaction survey. The data were analyzed to find the mean ( ), the standard deviation (S.D.) and the t-test.

          The research results were as follows:

          1. The instructional model to teach Thai as a second language based on   the communicative approach and cooperative learning to enhance the communicative abilities of ethnic student teachers consisted of 4 parts, namely, 1) the principles of the instructional model, 2) the objectives of the instructional model, 3) the steps of the learning activities. They consisted of 5 steps, namely, preparing, learning the contents, group practicing, developing the communicative abilities and evaluating of the use of language and 4) the measurement and evaluation of the instructional model. The result of the evaluation of the instructional model by experts showed that the quality of the instructional model was very good.

          2. The scores in the communicative abilities of the ethnic student teachers after the treatment were higher than those before the treatment (.05). The improvement was statistically significant.         

          3. The satisfaction of the ethnic student teachers with the instructional model that the study had developed was at the high level.

ไฟล์งานวิจัย

File รวมเล่ม (มีลายน้ำ).pdf

กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ สารบัญ (รวม) (ใส่ลายน้ำ).pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2566 หน้า 32-44

ปีที่ตีพิมพ์ :2566

7 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่