
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การรับรู้สถานการณ์โควิดกับความตั้งใจการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาไทย
อาจารย์สุวลักษณ์ อ้วนสอาด
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1482-64-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการรับรู้สถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) กับความตั้งใจการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาไทย โดยเป็นการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับทางการศึกษาพร้อมกับนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ให้ดำเนินแผนธุรกิจอย่างยั่งยืนในเชิงรุก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อทำการศึกษาถึงข้อมูลความสัมพันธ์ของทัศนคติเชิงบวกต่อสถานการณ์ การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาไทยในยามวิกฤติของโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี จำนวน 798 คน จาก 8 จังหวัด 8 อำเภอ และ 8 ตำบล ทั่วประเทศ โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามสำรวจทัศนคติการรับรู้สถานการณ์โควิด-19 และความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น หรือ Structural Equation Modeling (SEM) และ Process เพื่อทดสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยจะได้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1) ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน และส่วนที่ 3) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาไทย ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้สถานการณ์โควิดมีความสัมพันธ์กับการปรัปตัวและความปรารถนาในการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งไปทิศทางเดียวกันกับตัวแปรทัศนคติต่อสถานการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับความปรารถนาในการเป็นผู้ประกอบการ และ การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เช่นกัน ทั้งนี้ความสัมพันธ์ทางอ้อมหรือตัวผ่านกลางของทั้งการรับรู้สถานการณ์โควิด-19 และ ทัศนคติต่อสถานการณ์มีผลกระทบต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการผ่านตัวแปรการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และ ความปรารถนาในการเป็นผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์และมีนัยสำคัญอย่างมีนัยทางสถิติ
Abstract
This research aims to investigate Thai undergraduate individuals’ perceptions of their entrepreneurial intentions in the times of Covid-19 pandemic. In order to shed new light on educational policy and development on learners’ entrepreneurial mindset, this study is based on a quantitative research approach for examining the relationships between perceived attitude towards covid-19 pandemic and self-efficacy in adaptations towards their entrepreneurial aspiration which draws upon the theory of self-determination for a profound understanding on those linkages. A valid sample of 789 collected from 8 provinces, 8 districts, and 8 cities was included for further analysis using Structural Equation Modeling (SEM) and Process model 6. For the validity and reliability of this research, we conducted and analyzed research ad follows; (1) We analyzed and reported general information and demographic data of our sample; (2) We thus empirically test and report our theoretical hypotheses; (3) Causal relationship paths toward entrepreneurial intentions including serial mediating effects of self-efficacy and perceived desirability towards entrepreneurship were presented. The results illuminate those Thai undergraduate students who perceived the Covid-19 pandemic as a motivating force for their self-efficacy in situation adaptations and perceived desirability towards entrepreneurship. This is in the same direction with their attitudes toward a situation which positively influences both perceived desirability to be an entrepreneur and self-efficacy in situation adaptations. Interestingly, self-efficacy and desirability towards entrepreneurship act as serial mediating factors toward the mediated relationship between attitude toward situation, Covid-19 perception on entrepreneurship, and their entrepreneurial aspirations. Conclusion, implications, and future research were also discussed and presented.
ไฟล์งานวิจัย
3 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555