
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทธ์หทัย ตันสุหัข
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1529-65-MGT-TSRI
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์และศักยภาพของชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ยกระดับสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) พัฒนาการสื่อสารการตลาดบนช่องทางสื่อออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิจัยในรูปของการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เพื่อสำรวจตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิจัยในรูปของการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีทั้งหมด 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตามสะดวก จากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการสุ่มคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด ในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ การโฆษณาออนไลน์ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การโฆษณาออนไลน์ การสร้างเนื้อหาโดยผู้ใช้และการมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ ตามลำดับ
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the identity and potential of communities in Mon Pin Subdistrict, Fang District, Chiang Mai 2) to develop products to meet the community’s standard 3) to develop marketing communication on online media channels; using a quantitative and qualitative research to study. For the quantitative research, the survey was conducted by using questionnaires as a tool to explore the variables used in the research from 400 tourists selected by convenience sampling. For the qualitative research, there was the in-depth interview with 10 community business entrepreneurs in the area selected by purposive sampling. The statistics used in the research were descriptive statistics, Pearson’s correlation statistics, and multiple regression analysis, in which the results revealed that the factors of online marketing communication that consumers pay the most attention to when deciding to purchase community products were an online advertising. The results of the hypothesis testing showed that the factors of online marketing in aspects of online advertising, user generated content and online interaction had a positive effect to decision making to purchase community products at a statistically significant level of 0.05, respectively
ไฟล์งานวิจัย
เล่มวิจัยสมบูรณ์-อ.นัทธ์หทัย FF65 (7.9.65).docx.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2566)
ปีที่ตีพิมพ์ :2566
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
20 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th