ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ชุดโครงการ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ มหัทธนชัย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1551-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ 2) พัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงจากเส้นใยกัญชงที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต 
3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อจัดการองค์ความรู้สายการผลิต 4) พัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาด  5) พัฒนากลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย และ 6) เพิ่มศักยภาพทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยเทคโนโลยีตลาดดิจิทัล 
กลุ่มตัวอย่างคือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปเกอกะญอ บ้านแม่ก๊ะเปียง ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การดำเนินงานจะศึกษาบริบทชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างเครื่องต้นแบบเครื่องปั่นด้าย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดการองค์ความรู้ การพัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ชุมชน การหากลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย และการพัฒนาศักยภาพด้านตลาดดิจิทัล พร้อมทั้งจัดอบรมถ่ายทอดความรู้กับชุมชน ผลลัพธ์ที่ได้พบว่า ชุมชนได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกแบบสิ่งทอผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องประดับการแต่งกายให้มีความทันสมัย ประยุกต์ใช้กับกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ในกระบวนการผลิตผ้าใยกัญชงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งได้พัฒนากระบวนการผลิตและเครื่องปั่นใยกัญชงเพื่อนำเส้นเศษใยกัญชงเหลือทิ้งให้กลับมาทำเส้นผ้าทอใยกัญชงได้ องค์ความรู้ที่ได้นำมาจัดเก็บในรูปแบบเทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศจะใช้นำเสนอให้ลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าสินค้า ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดและเพิ่มช่องทางในตลาดดิจิทัล เทคโนโลยีที่สร้างสรรค์นี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน

Abstract

This research aims to study: 1) the development of textile products for ethnic groups, 2) the development of a spinning machine prototype using hemp fibers from the production process, 3) the application of information technology and creative innovation to manage production knowledge, 4) the development of a centralized information center for textile products to promote marketing, 5) the development of distribution channel strategies, and 6) the enhancement of marketing potential for textile products through digital market technology. The sample group consists of two community enterprises: the Mong ethnic community enterprise in Ban Mae Sa Noi, Pong Yang Sub-district, Mae Rim District, Chiang Mai Province, and the Pukakayor ethnic community enterprise in Ban Mae Ka Piang, Saluang Sub-district, Mae Rim District, Chiang Mai Province. The study will investigate the context of the community, product development, spinning machine prototype creation, knowledge management using information technology, the development of the centralized information center for community textile products, the identification of distribution channel strategies, and the development of digital marketing potential. The results showed that the communities have developed modern designs for textile products, clothing, and accessories, which have increased their applicability for target customers. The Mong ethnic community enterprise has developed a process for spinning ramie fibers and creating a spinning machine prototype to recycle leftover ramie fibers into threads for weaving. The knowledge that has been collected and stored in the form of technology and database systems at the Information Center will be used to present the value of the product to customers. Marketing strategies will be employed to expand the digital market channels. This innovative technology will help to increase the value of the woven fabric products and promote the economy of the communit

ไฟล์งานวิจัย

FF65 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์_ชุดโครงการ_ชนินทร์ และคณะ.pdf

14

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่