ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านและแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากอาหารพื้นบ้านเพื่อ การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง


รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ใจเตี้ย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1565-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้าน  2) ศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยอาหารพื้นบ้าน และ 3) สังเคราะห์แนวทางการเพิ่มมูลค่าอาหารพื้นบ้านเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 295 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 39 คน ในพื้นที่ชุมชนเวียงท่ากานต์ – ยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูล โดยการวิจัยเอกสาร  แบบสอบถาม  การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ  และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หากระบวนทัศน์ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรุงตำรับอาหารพื้นบ้านทั้งการใช้วัตถุดิบ เครื่องปรุง และวิธีการปรุงโดยเฉพาะตำรับแกงและตำรับน้ำพริก ทั้งนี้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารพื้นบ้านเฉลี่ยโดยรวมระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.05 ± 0.50 ) ในส่วนข้อเสนอแนวทางการเพิ่มมูลค่าอาหารพื้นบ้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอแนะแนวทางการคัดสรรตำรับอาหาร   การแสวงหาวัตถุดิบ  กระบวนการผลิต และช่องทางการจำหน่าย รวมถึงแนวทางการสนับสนุนจากหน่วยงานและชุมชน

Abstract

The purpose of this research was to study 1) the local food knowledge 2) health promotion behaviors of the elderly through traditional food and 3 )synthesize approaches to add value to local food for health promotion for the elderly according to sufficiency economy. The number of sample sizes was 295 elderly and 39  Interested persons in the area of Wiang Tha Kan – Yuwa Community, Sanpatong District, Chiangmai  Province. Data collected by using questionnaires, non in-depth interview, focus group discussion and stakeholder group operational seminar were executed. Data collected by using questionnaires, non-in-depth interview and focus group discussion. Data were analyzed by descriptive statistics and content analysis. The results indicated  that  the  knowledge recommendations for learning, a major raw material procurement and cooking. The elderly had moderate levels of traditional food consumption (x = 3.05 ± 0.50). The stakeholders have made recommendations for the add value to local food for health promotion for the elderly according to sufficiency economy to local food selection, sourcing raw materials, production process and including guidelines for community and sub district organization support.

ไฟล์งานวิจัย

รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารจันทรเกษมสาร ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม2565 หน้า 269-284

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่