ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยสื่อมัลติมีเดียบนฐานอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


นางณัฐญาย์ สมาเกตุ

สถาบันวิจัยและพัฒนา

เลขทะเบียน :

1572-65-IRD-TSRI

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยสื่อมัลติมีเดียบนฐานอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่         มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อการเรียนรู้อัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยสื่อมัลติมีเดียบนฐานอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัย พบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ได้แก่ วัด ศาสนสถาน และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ดอยม่อนล้าน อ่างเก็บน้ำแม่สลวม อ่างเก็บน้ำแม่โก๋น น้ำพุร้อนหนองครก น้ำตกห้วยป่าพลู น้ำตกม่อนหินไหล ฟาร์มควายสวยงาม ส่วนผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP และวิสาหกิจชุมชน อาทิเช่น กลุ่มผลิตและตัดเย็บผ้าบ้านขามสุ่มเวียง กลุ่มเวียงพร้าวกรีนวัลเลย์  กลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งหลวง ตุ๊กตาปั้นด้าย จักสาน หมู่บ้านโฮมสเตย์หนองครก น้ำพริกแม่หลวงแดง Jom Tawan (เตาย่าง) ลาเบเต้      คนกับดินโฮมสเตย์ และผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร อาทิเช่น กินดีฟาร์ม ณัชชารีย์ฟาร์ม เห็ดสด     กลุ่มเลี้ยงไหมบ้านร่มเกล้า เป็นต้น 2) ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อการเรียนรู้อัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเข้าใช้งานผ่านสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ เพื่อวางแผนการ การท่องเที่ยวและค้นหาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ และพิมพ์ URL: https://www.phraoinfo.com/ ซึ่งการทำงานหลักของระบบ แสดงเมนูสถานที่ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่นักท่องเที่ยวต้องการเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ จากนั้นระบบจะทำการแสดงข้อมูลรายละเอียด   การท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการที่ระบุ โดยระบบได้กำหนดหมวดหมู่สำคัญที่จะแสดงไว้บนเว็บไซต์ 6 หมวด คือ 1) หน้าแรก 2) ตำบล 3) สถานที่ท่องเที่ยว 4) ผลิตภัณฑ์ชุมชน 5) แผนที่ 6) ติดต่อเรา ในส่วนของการแสดงเชิงกายภาพ มีการนำเสนอชุมชนบนแผนที่ แสดงตามตำแหน่งจริง เพื่อให้เห็นการกระจายตัวของชุมชน รวมไปถึงระยะห่างจากชุมชนหนึ่งไปชุมชนหนึ่ง ทั้งจากการประเมินด้วยสายตา และการใช้คำนวณจากเครื่องมือ Google Map โดยเมื่อคลิกที่เครื่องหมายที่ปัก หมุดไว้บนแผนที่ ข้อมูลจะแสดงภาพถ่ายของสถานที่นั้น เพื่อแสดงข้อมูลทั้งหมดของชุมชนที่อยู่บนฐานข้อมูล และหากต้องการทราบเส้นทาง สามารถคลิกที่ "Google Map" โดยระบบจะแนะนำเส้นทางการเดินทาง เพื่อการวางแผนการท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการจะไปในอำเภอพร้าว จะผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้กลุ่มนักท่องเที่ยวในการใช้งานระบบระหว่างการท่องเที่ยว 3) การประเมินระบบสารสนเทศจากผู้ประกอบการของชุมชนและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้งานระบบ จำนวน 49 คน พบว่า ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยสื่อมัลติมีเดียบนฐานอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.44 โดยมีความพึงพอใจสูงที่สุดในด้านการสนับสนุนและการใช้งานระบบสารสนเทศ ค่าเฉลี่ย 4.55 รองลงมา คือ ด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.41 และด้านการออกแบบระบบการใช้งาน มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.36 ตามลำดับ

Abstract

The study of Development Information System and Technology for Community Tourism and Products by Using Multimedia based on the Identity and Local Wisdom of Phrao District, Chiang Mai Province aimed at investigating 1) to survey and collect information tourist attractions and community products and to assess the cultural tourism situation of District Phrao, Chiang Mai 2) to develop the information systems and technologies for cultural tourism routes to learn identity and local wisdom of Phrao District, Chiang Mai through social media and websites. Tools used are questionnaires to find out users’ satisfaction using information systems and tourism technology and community products.

The research results found that 1) most of tourist attractions are temples, religious sites and important historical sites. There are natural attractions such as:        Doi Mon Lan, Mae Salam Reservoir, Mae Kon Reservoir, Nong Khrok Hot Spring, Huai   Pa Phlu Waterfall, Mon Hin Lai Waterfall, beautiful buffalo farm. The products of Phrao community are OTOP products and community enterprises. They are Ban Kham Sum Wiang Fabric Production and Sewing Group, Wiang Prao Green Valley Group, Ban Thung Luang Weaving Group, thread doll, basketry, Nong Khrok homestay village, Red Mae Luang Chili Paste, Jom Tawan (Grill), La-be-te, Kon Kub Din Homestay. For the agricultural products, They are Kindee Farm, Natcharee Farm Fresh Mushrooms,                Ban Romklao Silkworm Raising Group, etc. 2) Information system and technology for cultural tourism routes can be found through social media and websites. Tourists who want to travel in the area can find tourist information and community product information by using a web browser and type URL: https://www.phraoinfo.com/. Then the system will display travel information and community products that meet            the specified needs. Important categories are displayed on the website in 6 categories, namely: 1) Home page 2) Sub-district 3) Attractions 4) Community products 5) Map            6) Contact us. In terms of community physical performances are presented on the map Including the distance from one place to another. The information also shows photos of the places. And tourists can click on "Google Map" for a travel route guidance to plan a tour of the places that they want to go. 3) The satisfaction of 49 community entrepreneurs and tourists who use the system are: overall, the average satisfaction is 4.44. The highest satisfaction in supporting and using of information systems is 4.55, followed by the performance and benefits of the system with an average of 4.41. In terms of system design and use, the satisfaction is at a high level with an average of 4.36 respectively.

ไฟล์งานวิจัย

รวมเล่มพร้อมปก ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศฯ อำเภอพร้าว.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

6 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่