ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาแบรนด์เรื่องเล่าและกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของอำเภอพร้าวจังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานพ ชุ่มอุ่น

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1575-65-MGT-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบรนด์ สร้างเรื่องเล่าทางการตลาด และ พัฒนากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์    ภูมิปัญญาของอำเภอพร้าว การวิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังอำเภอพร้าว 400 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสถิติเชิงพรรณนา ผลการสร้างและพัฒนาแบรนด์ พบว่า โครงสร้างแบรนด์ใช้แบรนด์เฉพาะที่สะท้อนถึงกลิ่นอายของวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของชุมชนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผลการสร้างเรื่องเล่า พบว่า การสร้างเรื่องเล่าใช้แบรนดสถานที่ซึ่งจะสามารถสร้างการรับรู้และการจดจำแก่นักท่องเที่ยว โดยโครงเรื่องเป็นแบบ Round Trip เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้เป็นข้อมูลตัดสินใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว และ    แก่นของเรื่อง คือ การสรุปภาพของอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อตอกย้ำความเป็นเมืองแห่งกลิ่นอายของวัฒนธรรมและธรรมชาติอันสวยสดงดงาม ผลการพัฒนากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ พบว่า ใช้กลยุทธ์ 6C คือ การสร้างเนื้อหาที่มีความสดใหม่ การสร้างชุมชนออนไลน์      การสร้างร้านค้าออนไลน์เชิงพาณิชย์ การสร้างเว็บไซต์ให้ถูกใจกลุ่มลูกค้า การสร้างแพลตฟอร์ม     การสื่อสาร และการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า  

Abstract

This research aimed to build and develop brands, create storytelling and develop online marketing strategies for creative and cultural tourism and wisdom products of Phrao District. The research involved the application of the mixed method as the qualitative research instrument, which consisted of in-depth interviews, group discussions, relevant documents, and data analysis using content analysis, while the quantitative instrument consisted of questionnaires administered to 400 tourists and descriptive statistics for data analysis. Branding results indicated that a brand portfolio would include an individual brand that reflects the aura of culture, tradition, wisdom, and community identity that has not changed over time. The storytelling finding showed the use of place branding to be able to create awareness and recognition for tourists and the storyline is in the form of a round trip for tourists to use as information to make a decision to travel, and the theme of the story is the summary of the image of identity, culture and community products to emphasize the city of culture and beautiful nature. The digital marketing strategy using 6C: was creating content that is fresh, community online building, creating a commercial online store, creating commerce that appeals to customer groups, building a communication platform, and creating facilities for customers

ไฟล์งานวิจัย

รายงานวิจัยฉ.สมบูรณ์ การพัฒนาแบรนด์เรืองเล่า.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

5 23 พ.ค. 2566

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่