ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

โครงการติดตามและประเมินผลแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่สำหรับการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.จินดาภา ศรีสำราญ

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1577-65-MGT-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวชุมชนและกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนในอำเภอพร้าว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย การสำรวจบริบทชุมชน การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงทดลอง วิเคราะห์มูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า แพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ต้องพัฒนาและเชื่อมโยงคุณค่าห่วงโซ่คุณค่าทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วย การพัฒนาระดับต้นน้ำ คือ การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนด้านการจัดการองค์กร การบริการ การตลาด การเงิน และทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและสินค้าชุมชน การพัฒนาระดับกลางน้ำ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวและกาแฟที่ใช้วัตถุดิบในชุมชนและนำไปจำหน่ายในเส้นทางการท่องเที่ยว และการวิเคราะห์ต้นทุนการลงทุนที่คำนึงถึงความคุ้มค่าใน การลงทุน ส่วนการพัฒนาระดับปลายน้ำ คือ การเข้าถึงตลาดด้วยการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์และ  เรื่องเล่าเพื่อสร้างการรับรู้และการจดจำต่อกลุ่มนักท่องเที่ยว และสามารถตอบสนองต่อการเดินทางของลูกค้า ร่วมกับการสร้างห่วงโซ่คุณค่าและโมเดลธุรกิจที่ก่อให้เกิดความประหยัดทางเศรษฐศาสตร์จากการดำเนินธุรกิจมีต้นทุนลดลง และการสร้างภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวผ่าน 5 องค์ประกอบ (5A) คือ สิ่งดึงดูดใจ กิจกรรม การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก และที่พัก 

Abstract

This research aimed to create a new platform for creative tourism, cultural and local wisdom products. The sample group were the community tourism entrepreneurs and community product producers in Phrao District. Research instrument consisted of community context surveys, group discussions, in-depth interviews, questionnaires, and experimental research and data analysis using content analysis. Results indicated that the new platform must develop and connect value chains at 3 levels, consisting of upstream development is the developing the potential of tourism operators and community tourism networks in organizational management, service, marketing, finance and human resources, and development of information system for community tourism and products to publicize tourist attractions and community products. Mid-stream development is the development of new products from rice and coffee that use ingredients in the community and sell them in the tourism route, and investment cost analysis that takes into account the worthiness of the investment. Downstream development is to reach the market through product branding and stories to create awareness and recognition among tourists and can respond to customer journeys, together with the creation of a value chain and a business model that creates economical savings from a reduction in cost, and creating a tourist attraction image through 5 elements (5A) which are attraction, activities, access, amenities, and accommodation. 

ไฟล์งานวิจัย

1. ปกหน้า -ปกใน-ลายน้ำ.pdf

2. กิตติกรรมประกาศ-ลายน้ำ.pdf

3. บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ-ลายน้ำ.pdf

4. สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ-ลายน้ำ.pdf

5. บทที่ 1-5 พร้อมภาคผนวกและประวัติ-ลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

5 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่