ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาปัจจัยการผลิตอินทรีย์ตามมาตรฐาน IFOAM เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟภาคเหนือ


อาจารย์ ดร.ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

เลขทะเบียน :

1597-65-AGRI-TSRI

บทคัดย่อ

โครงการการพัฒนาปัจจัยการผลิตอินทรีย์ตามมาตรฐาน IFOAM เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาปัจจัยการผลิตอินทรีย์ในระบบการผลิตกาแฟอินทรีย์ให้สอดคล้องตามมาตรฐาน IFOAM และเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟ กระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจของภูมิภาคเกิดขยายตัวเพิ่มขึ้น ผลจากการดำเนินงานโครงการฯ พบว่า ในกระบวนการผลิตของกาแฟมักมีของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เช่น กากกาแฟ เชอรี่ ผลที่ไม่ได้ขนาด ใบและกิ่งของกาแฟที่เหลือจากการตกแต่งกิ่ง และปัญหาเกี่ยวเกี่ยวกับโรคและแมลงที่เข้าทำลายต้นกาแฟและผลผลิต รวมทั้งต้องจัดซื้อปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มซึ่งมีความลำบากในการขนส่งจากตัวเมืองไปยังฟาร์มของตนเอง จึงได้มีการผลิตปัจจัยการผลิตอินทรีย์ขึ้น จำนวน 7 สูตร ได้แก่ Chiangdao Beverage 1 ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกาแฟ, Chiangdao Beverage 2 สูตรป้องกันหนอน (BT), Chiangdao Beverage 3 Beauveria bassiana, Chiangdao Beverage 4 Metarhizium anisopliae, Chiangdao Beverage 5 Trichoderma harzianum, Chiangdao Beverage 6 Bacillus subtilis และ Chiangdao Beverage 7 สารปรับปรุงดิน ซึ่งสามารถลดต้นทุนการจัดซื้อปัจจัยการผลิตอินทรีย์จากภายนอกฟาร์มและเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งภายในฟาร์มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และได้จัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

Abstract

The objective of development of organic inputs in accordance with IFOAM standards to promote the potential of Northern coffee business entrepreneurs project is to develop organic inputs in the organic coffee production system in accordance with IFOAM standards and to increase the potential and elevate the competitiveness of coffee business operators, encourages job creation, income generation and continually contributes to regional economic growth. The result of the project found that in the production process of coffee, there are often leftovers agricultural waste from the production process such as coffee grounds, cherries, undersized fruit, coffee leaves and branch and problems with diseases and insects that damage the coffee plant and its yield, Including having to purchase organic inputs from outside the farm which is difficult to transport from the city to their own farm. Therefore, 7 formulas of organic inputs were produced, namely Chiangdao Beverage 1 Plant growth promotion, Chiangdao Beverage 2 Bacillus thuringiensis, Chiangdao Beverage 3 Beauveria bassiana, Chiangdao Beverage 4 Metarhizium anisopliae, Chiangdao Beverage 5 Trichoderma harzianum, Chiangdao Beverage 6 Bacillus subtilis and Chiangdao Beverage 7 Soil amendment which can reduce the cost of purchasing organic inputs from outside the farm and utilize waste materials within the farm and developed product prototypes for further commercial use.

ไฟล์งานวิจัย

รายงานฉบับสมบูรณ์พร้อมลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

31 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่