ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การผลิตถ่านไฮโดรชาร์จากมูลช้างด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชั่น


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท

วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย

เลขทะเบียน :

1639-65-ADIC-CMRU

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของมูลช้าง กระบวนการผลิตถ่านไฮโดรชาร์จากมูลช้างด้วยกระบวนการไฮโดรเทอมัลคาร์บอไนเซชั่น และคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของถ่านไฮโดรชาร์ โดยงานวิจัยฉบับนี้มีความต้องการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้ได้รับการพัฒนาด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่ทางผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในครั้งนี้ยังอยู่ในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประกอบด้วย พื้นที่โป่งสมิและเครือข่ายลุ่มน้ำวางตอนบน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่กื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผลของกระบวนการผลิตถ่านไฮโดรชาร์จากมูลช้างสดด้วยกระบวนการไฮโดรเทอมัลคาร์บอไนเซชั่น ที่สภาวะอุณหภูมิควบคุม เท่ากับ 170, 200 และ 230 ˚C ที่ระยะเวลา 60 นาที จากการศึกษาพบว่าการผลิตถ่านไฮโดรชาร์ ที่อุณหภูมิในช่วง 200 – 230 °C เป็นสภาวะที่เหมาะสมอย่างมากในการผลิตไฮโดรชาร์จากมูลช้างสด อย่างไรก็ตามการนำถ่านไฮโดรชาร์ที่ผลิตจากมูลช้างสดจะต้องทำการนำมาต่อยอดใช้งานจริงร่วมกับถ่านหิน ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อทดสอบความคงตัวและเสถียรภาพของการเป็นผลิตเป็นเชื้อเพลิงร่วมในการนำมาเป็นเชื้อเพลิงตั้งต้น สำหรับผลิตพลังงานทดแทนในรูปของพลังงานความร้อนและไฟฟ้าต่อไป

Abstract

The purpose of this research is to study the physical and chemical properties of elephant dung, hydrochar production from elephant dung using hydrothermal carbonization as well as the physical and chemical properties of the produced hydrochar. The results from this study could develop education, economic, social, and environment of many local communities. The targeted communities in this study are located at the beginning of the Wang River, Pongsami village, Tambon Kuet Chang, Amphoe Mae tang, Chiang Mai. The results from hydrothermal carbonization of elephant dung indicated that at the operating temperature of 170, 200, and 230 ˚C and the operating time of 60 minutes. The high temperature of 200 – 230 °C are appropriate for producing hydrochar from elephant dung. However, the produced hydrochar should be cofire with conventional coal to enhance stability of the produced solid fuels for producing renewable energy such as heat and electricity energy.

ไฟล์งานวิจัย

รายงานฉบับสมบูรณ์ กองทุนวิจัย 65 .pdf

6 19 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่