
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและแรงจูงใจในการเรียนโดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชั่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
อาจารย์วราพร บุญยวงศ์วิวัชร
คณะครุศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1745-66-EDU-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชั่น และ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชั่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ED 2202 ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชั่น รวมจำนวน 4 แผน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ รวม 32 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) แบบวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์อยู่ในระดับ ปานกลาง และหลังเรียนอยู่ในระดับ มาก โดยหลังเรียน (X̅ = 4.21, S.D. = 0.47) สูงกว่าก่อนเรียน (X̅ = 3.11, S.D. = 0.72)
Abstract
The objectives of this research were 1) compare the English communication skills before and after using Gamification technique 2) to compare the learning motivation before and after using Gamification technique. The sample group consists of 26 second-year students enrolled in the Bachelor of Education program, Faculty of Education, who registered for the course ED 2202 English for Communication for Teachers in the first semester of the academic year 2023. The research instruments include: 1) a set of 4 learning management plans using gamification technique over 8 weeks, totaling 32 hours, 2) an English communication skills test, and 3) an English learning motivation scale. Data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test.
The research found that:
1. The posttest English communication skills test scores were significantly higher than the pretest scores at the .05 level of statistical significance.
2. Learning motivation in English before learning was at a moderate level compared to the criteria, and after learning, it was at a high level, with post-learning (X = 4.21, S.D. = 0.47) being higher than pre-learning (x = 3.11, S.D. = 0.72).
ไฟล์งานวิจัย
19 04 เม.ย. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555