
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ความคาดหวังการเรียนรู้ และการรับรู้การสนับสนุนกับความผูกพันต่อองค์การ
ประทานพร สุรินต๊ะ
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1761-66-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังการเรียนรู้ และการรับรู้การสนับสนุน และความผูกพันต่อองค์การตามลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ความคาดหวังการเรียนรู้ และการรับรู้การสนับสนุน กับความผูกพันต่อองค์การของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ (3) เพื่อศึกษาอำนาจพยากรณ์ของความคาดหวังการเรียนรู้ และการรับรู้การสนับสนุน ที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามความคาดหวังการเรียนรู้ แบบวัดการรับรู้การสนับสนุน และแบบวัดความผูกพันต่อองค์การ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance ) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์โดยวิธีการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ชั้นปีที่กำลังศึกษาต่างกัน มีความคาดหวังการเรียนรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ชั้นปีที่กำลังศึกษามีความต่างกัน มีการรับรู้การสนับสนุนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่รอบของการคัดเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีความต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ รอบของการคัดเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีความสัมพันธ์ทางลบกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.265) และการรับรู้ การสนับสนุนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .443)
5. ความคาดหวังการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .436) เมื่อจำแนกความคาดหวังการเรียนรู้ในรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .364, .393, .250, .441 และ .384 ตามลำดับ)
6. ความคาดหวังการเรียนรู้ และการรับรู้การสนับสนุน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรทั้ง 2 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 26.70
Abstract
The aim of this research was to: (1) compare learning expectations and perceived organizational support and organizational commitment among students majoring in human resource management who were different in individual characteristics; (2)study the relationships between individual characteristics, expectation, and perceived organizational support and organizational commitment among students majoring in human resource management; and (3) study the predictability of individual characteristics, expectation, and perceived organizational support and organizational commitment among students majoring in human resource management. The sample size was 109 students majoring in human resource management. The research instruments consisted of an individual characteristics questionnaire, a learning expectation questionnaire, The survey of organizational support, and Organizational commitment scale. Data were analyzed using one-way analysis of variance, Pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression.
The results were as follows:
1.Students majoring in human resource management had different individual characteristics, i.e., their year of study was significantly different in terms of learning expectations (p<.05).
2.Students majoring in human resource management had different individual characteristics, i.e., their year of study was significantly different in terms of perceived organizational support (p<.05).
3.Students majoring in human resource management had different individual characteristics, i.e., round of university entrance examination selection was significantly different in terms of organizational commitment (p<.05).
4. Round of university entrance examination selection had a significantly negative relationship with organizational commitment (r = -.265, p<.01), and perceived organizational support had a significantly positive relationship with organizational commitment (r = .443, p<.01).
5. Learning expectations had a significantly positive relationship with organizational commitment (r =.436, p<.01), as well as five facets of learning expectations, i.e., ethics and morals, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills and responsibility, numerical analysis, communication, and information technology skills, which had a significantly positive relationship with organizational commitment (r = .364, .393, .250, .441, and .384, respectively, p<.01).
6. Learning expectations and perceived organizational support could significantly predict turnover intention (p<.01). All two variables explained the 26.70 percent variance in turnover intention.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2567
ปีที่ตีพิมพ์ :2567
9 01 พ.ค. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555