ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ชุดโครงการวิจัย การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อยกระดับสมรรถนะในการเรียนรู้ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ประกอบด้วย


อาจารย์ ดร.ชเนษฎ์ วิชาศิลป์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

511-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชาฟิสิกส์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อยกระดับสมรรถนะในการเรียนรู้ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่ง นวัตกรรมการสอนในงานวิจัยนี้ได้มีประเด็นที่ศึกษา ได้แก่ รูปแบบการสอน ทักษะการเรียนรู้ และสื่อ การสอน ซึ่งการสร้างรูปแบบการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์โดยใช้รูปแบบการสอนจาก นักเรียนโรงเรียนต้นแบบ คือ รูปแบบการเรียนแบบ PCI ซึ่งได้จากการศึกษาพฤติกรรมการเรียนวิชา ฟิสิกส์ของนักเรียนใน โรงเรียนต้นแบบนี้ โดยเป็นการถอดแบบพฤติกรรมในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของ นักเรียนมาเป็นรูปแบบการสอน เพื่อน าไปสร้างเป็นรูปแบบการสอนและน าไปใช้กับนักเรียนใน โรงเรียน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ซึ่งมี ความแตกต่างในเชิงพื้นที่ และเชิงคุณลักษณะเพื่อชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการสอนสามารถน าไปใช้กับ โรงเรียนทุกพื้นที่ ผลการใช้พบว่า รูปแบบการสอนนี้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ PCI ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมการเรียนตามของไรซ์แมนและกราซา สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ ที่มีค่าเฉลี่ย 55.76 และ แบบอิสระ ค่าเฉลี่ย 56.68 แบบแข่งขัน ค่าเฉลี่ย 57.76 จึง น ามาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง มวล แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ของ นักเรียนกลุ่มที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์แบบ PCI ซึ่ง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.13/80.5 และนักเรียนกลุ่มที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.6/ 81.25 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดทั้ง 2 โรงเรียน ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์ ตาม รูปแบบการเรียนรู้ แบบ PCI ของนักเรียนกลุ่มที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.785 ท าให้นักเรียนมีความก้าวหน้า ทางการเรียนร้อยละ78.5 และนักเรียนกลุ่มที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.680 ท าให้นักเรียนมีความก้าวหน้า ทางการเรียนร้อยละ 68 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ ที่มีรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ PCI นี้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทั้ง 2 โรงเรียน อย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สุดท้าย ผลการวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ ที่มีรูปแบบการ จัดกิจกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์แบบ PCI โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก นอกจากนี้ผลการทวนสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกรอบมาตรฐานหลักสูตร (TQF) โดยการประเมินตนเองและเปรียบเทียบ กับการประเมินผลเรียนของนักศึกษาในรายวิชาฟิสิกส์ 2 ในการศึกษาวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 1 ที่ลงเรียนรายวิชาฟิสิกส์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิแบบมาตราส่วนประมาณค่าและข้อสอบวัดผลรายวิชาฟิสิกส์ 2 ผลการวิจัยพบว่าผลการทวน สอบโดยการประเมินตนเองของนักศึกษา ท าให้กลุ่มตัวอย่างประเมินตนเองได้สอดคล้องกับการ ประเมินโดยข้อสอบวัดผลทางการเรียน ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ที่เน้นเป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มอาสาสมัครจ านวน 55 คนซึ่งเป็นนักศึกษาครุศาสตร์สาขา วิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี ที่ก าลังศึกษาในชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และครู ประจ าการที่สอนวิทยาศาสตร์จ านวน 125 คน ผลการศึกษาพบว่าระดับความเข้าใจในทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างมีอยู่สองทักษะที่อยู่ในระดับน้อยและปานกลางได้แก่ ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูลและทักษะการสังเกตตามล าดับ ส่วนทักษะอื่น ๆ ของทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นอยู่ระดับมากและมากที่สุด ส าหรับวัตถุประสงค์ที่สองของ โครงการวิจัยนี้พบว่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ส าหรับการ สอนวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อยกระดับสมรรถนะในการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 86.82/85.06 และผลการใช้นวัตกรรมปลายพบว่ามีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7180 หรือคิดเป็น ร้อยละความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.80 นอกจากนี้รายละเอียดของผลศึกษาของแต่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะได้ถูกน าไปอภิปราย เปรียบเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ นอกจากนี้การสร้างสื่อการสอนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ วงจรไฟฟ้ากระแสตรงในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลการเรียนรู้ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการทดลองนี้พบว่า เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาและครู ประจ าการที่สอนวิทยาศาสตร์ พบว่าทั้งนักศึกษา ครูประจ าการ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบค่าดัชนี ประสิทธิผลของความก้าวหน้าทางพัฒนาการการเรียนรู้ของนักศึกษา ครูประจ าการ และนักเรียน พบว่าร้อยละดัชนีประสิทธิผลของครูประจ าการมีค่ามากที่สุดคือ ร้อยละ63.33 รองลงมาเป็นร้อยละ ดัชนีประสิทธิผลนักศึกษา และนักเรียนตามล าดับ เหตุที่ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนมีค่าน้อยที่สุด อาจเกิดจากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อ่อนทางการค านวณจึงส่งผลต่อคะแนนที่ท าได้ในแต่ละครั้ง หาประสิทธิภาพของการใช้ชุดการทดลองนี้พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ของนักศึกษา ครู ประจ าการ และนักเรียนพบว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่ตั้งไว้ ความพึงพอใจของนักศึกษา และครูประจ าการพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพอใจสูงสุดอยู่ในด้านเนื้อหา คือได้คะแนนเฉลี่ย 3.71 และ 3.73 ตามล าดับ ส าหรับค่าเฉลี่ยความพอใจนักเรียนที่มีต่อชุดการทดลองนี้พบว่า มีค่าเฉลี่ยความ พอใจสูงสุดในด้านสื่อการเรียนการสอน คือได้คะแนน 3.74 ซึ่งอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด เช่นเดียวกัน

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

918 23 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่