
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การสร้างและพัฒนานวัตกรรมชุดสื่อการสอนวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อยกระดับสมรรถนะในการเรียนรู้ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.ชเนษฎ์ วิชาศิลป์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
514-58-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการสร้างและพัฒนานวัตกรรมชุดการสอน เพื่อยกระดับสมรรถนะในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการทดลองวิชาฟิสิกส์ เรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อหาประสิทธิภาพการใช้ชุดการทดลองตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดการทดลอง กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษา และครูประจำการที่สอนวิทยาศาสตร์มีต่อชุดการทดลอง เรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้ากระแสตรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 30 คนซึ่งเป็นนักศึกษาครุศาสตร์สาขาฟิสิกส์ ระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครูประจำการที่สอนวิทยาศาสตร์จำนวน 30 คน และ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนแม่หอพระ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 16 คน พบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาและครูประจำการที่สอนวิทยาศาสตร์ พบว่าทั้งนักศึกษา ครูประจำการ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าดัชนีประสิทธิผลของความก้าวหน้าทางพัฒนาการการเรียนรู้ พบว่าร้อยละดัชนีประสิทธิผลของครูประจำการมีค่ามากที่สุดคือ ร้อยละ63.33 รองลงมาเป็นร้อยละดัชนีประสิทธิผลนักศึกษา และนักเรียนตามลำดับ ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการใช้ชุดการทดลองนี้พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ของนักศึกษา ครูประจำการ และนักเรียนพบว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่ตั้งไว้ และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษา ครูประจำการ และนักเรียนพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพอใจมากที่สุดในทุกกลุ่ม
Abstract
This research is the creation and development of teaching innovation. To enhance the ability to learn physics. Of high school students By Chiang Mai Rajabhat University the objectives are as follows: 1) To create and develop a series of experiments in physics. Electronics and DC circuits High School 2) To compare the average learning achievement before and after learning. Using the experimental set with high school students 3) To study the satisfaction of students and teachers who teach science. Electronics and DC circuits. The samples were 30 subjects, who were students in physics. Undergraduate Studying in the 4th year of Chiang Mai Rajabhat University 30 teachers teaching science and students studying at the secondary school. 6. A comparison of mean scores before and after learning of students and teachers who taught science. It was found that both students, teachers, and students had higher posttest achievement than before learning at the .05 level. For comparative analysis, the index of effectiveness of learning progress The percentage of teachers' performance index was highest at 63.33%, followed by student performance index And students respectively. The results of this study were as follows. The efficiency (E1 / E2) of students, teachers, and students was found to be in accordance with the established standard 75/75. Results and analysis of student, teacher and student satisfaction showed that the average satisfaction was highest. In all groups
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา374 23 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445