
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาทางเลือกใหม่ในกระบวนการผลิตผ้าหมักโคลน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา เขาดี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
714-59-SCI-MUA
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาดินโคลนจากสุโขทัย แม่แจ่ม และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการผลิตผ้าหมักโคลนแบบวิธีดั้งเดิม ที่มีการใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกัน ในการผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายหมักโคลน ซึ่งได้ศึกษาองค์ประกอบและคุณสมบัติของโคลน รวมถึงประสิทธิภาพในการหมักโคลน จากการเปรียบเทียบสีของนํ้าหมักโคลนทั้งสามแหล่ง จะพบว่านํ้าหมักโคลนจากสุโขทัยมีสีเทา ซึ่งมีสีอ่อนที่สุด เข้มข้นขึ้นไปจะเป็นนํ้าหมักโคลนจากแม่แจ่มที่มีสีดำเทา และเข้มข้นมากที่สุดจะเป็นนํ้าหมักโคลนจากแม่ฮ่องสอนที่มีสีแดงนํ้าตาล นํ้าหมักโคลนจากสุโขทัยตกตะกอนช้าสุด นํ้าหมักโคลนจากแม่ฮ่องสอนตกตะกอนเร็วที่สุด จากการวัดค่า pH ของนํ้าหมักโคลนทั้งสามแหล่งพบว่าค่า pH มีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละแหล่ง โดยค่า pH ของนํ้าหมักโคลน จ.สุโขทัยจะมีค่า pH ที่ 8-9 อ.แม่แจ่ม มีค่า pH 6-7 และ จ.แม่ฮ่องสอน มีค่า pH ที่ 3-4 ส่วนปริมาณเหล็กในดินโคลนทั้งสามแหล่ง จะพบว่าปริมาณเหล็กในแต่ละแหล่งก็มีปริมาณที่แตกต่างกัน คือ ดินโคลน จ.สุโขทัยจะพบปริมาณเหล็กที่ความเข้มข้น 0.6608 %w/w รองลงมาคือ ดินโคลน อ.แม่แจ่มพบปริมาณเหล็กที่ความเข้มข้น 0.7296 %w/w ส่วนดินโคลนแม่ฮ่องสอนจะพบปริมาณเหล็กมากที่สุดคือที่ความเข้มข้น 1.3652 %w/w จากการหาเอนไซม์ที่เข้ามาร่วมกับการหมักด้วยโคลน ในที่นี้ได้แก่เอนไซม์เซลลูเลส ซึ่งความเข้มข้นของสารละลายเอนไซม์ที่เหมาะสมในการปรับปรุงผ้าฝ้ายคือ 300 ppm การศึกษาผลของเวลาที่เหมาะสมในการปรับปรุงผ้าฝ้าย โดยวัดค่าความเข้มข้นที่เหลืออยู่ของเบเนดิกต์ใช้ทดสอบการปรับปรุงเส้นใยเซลลูโลสด้วยเอนไซม์เซลลูเลส พบว่าความเข้มข้นที่ลดลงของสารละลายเบเนดิกต์ที่ใช้ทดสอบของทั้งสามอุณหภูมิไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจนแต่มีแนวโน้มลดลงเมื่อเวลาเพิ่มขึ้นและพบว่าที่อุณหภูมิ 50๐C เวลา 6 ชั่วโมง ความเข้มข้นของสารละลายเบเนดิกต์ลดลงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 63.02 การสัมผัสด้วยมือเพื่อทดสอบความนุ่มโดยให้ผู้ทดสอบ 30 คน พบว่ามีความพึงพอใจความนุ่มของผ้าฝ้ายที่ผ่านการปรับปรุงด้วยเอนไซม์เซลลูเลสความเข้มข้น 300 ppm ที่ 50๐C มากที่สุด จากการทดลองหมักผ้าฝ้ายกับโคลน จะเป็นการทดลองอยู่ 2 แบบ คือ การหมักผ้าฝ้ายกับโคลนแบบดั้งเดิม และการหมักผ้าฝ้ายกับโคลนแบบผสมกับเอนไซม์เซลลูเลส ซึ่งการการหมักผ้าฝ้ายกับโคลนแบบดั้งเดิม พบว่าผ้าฝ้ายที่หมักกับโคลนจะมีความนุ่มและนํ้าหนักดีขึ้น เมื่อเทียบกับผ้าฝ้ายที่ไม่หมักกับโคลน แต่มีสีนํ้าโคลนติดอยู่เล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบความนุ่มของผ้าฝ้ายที่ผ่านการหมักโคลนทั้งสามแหล่ง พบว่า การหมักด้วยโคลนจากสุโขทัยจะให้ความนุ่มมากที่สุด รองลงมาคือแม่แจ่ม และแม่ฮ่องสอน และเมื่อเทียบความมีนํ้าหนักของเนื้อผ้า จะแปรผันตรงกันข้าม คือ ผ้าที่หมักโคลนจากแม่ฮ่องสอนจะมีนํ้าหนักมากสุด รองลงมาคือแม่แจ่ม และสุโขทัย ส่วนการหมักผ้าฝ้ายกับโคลนแบบผสมกับเอนไซม์เซลลูเลส ซึ่งจะพบว่าผ้าฝ้ายมีความนุ่ม และนํ้าหนักดีขึ้น และมีสีขาวเหมือนเดิมหรืออาจขาวกว่าเดิม ทั้งนี้จะเห็นว่าความหนักของผ้าหมักโคลนจะแปรผันตามปริมาณเหล็กในนํ้าโคลน ส่วน pH ของนํ้าโคลนไม่มีผลถึงแนวโน้มในการหมักผ้า เมื่อมีการเติมเอนไซม์เซลลูเลสผสมเข้าไป ทำให้ผ้าฝ้ายมีความนุ่มและนํ้าหนักดีขึ้นกว่าการหมักโคลนที่ไม่มีเอนไซม์ และมีสีขาวเหมือนเดิมหรือขาวกว่าเดิม จากการได้สัมผัสผ้าฝ้ายหลังทำการหมักโคลน พบว่าผ้าฝ้ายจะมีความนุ่มมากขึ้น โดยโคลนจากสุโขทัยจะให้ความนุ่มมากที่สุด และการผสมเอนไซม์จะทำให้ผ้ามีความนุ่มมากกว่า
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา2137 09 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
0-2610-5200
pr_mua@mua.go.th