ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประยุกต์ใช้แป้งข้าวกล้องเพาะงอกในผลิตภัณฑ์ขนมอบ และการศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมอบจากแป้งข้าวกล้อง เพาะงอก


อาจารย์ศิริวรรณ ศรีสัจจะเลิศวาจา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

875-60-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาการประยุกต์ใช้แป้งข้าวกล้องเพาะงอกในผลิตภัณฑ์ขนมอบ ได้วิเคราะห์หาปริมาณกาบาในข้าวกล้องเพาะงอกในรูปของเมล็ดข้าวกล้องเพาะงอกเปรียบเทียบกับแป้งข้าวกล้องเพาะงอก ที่สกัดโดยใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลาย ด้วยเทคนิคการดูดกลืนแสงในช่วงวิสิเบิล (visible spectrophotometry) ที่ความยาวคลื่นที่มีการดูดกลืนแสงสูงสุด 633 นาโนเมตร พบว่า กาบาในเมล็ดข้าวกล้องเพาะงอกมีปริมาณมากกว่าแป้งข้าวกล้องเพาะงอก เท่ากับ 19.34 มิลลิกรัม/100กรัม และ 8.52 มิลลิกรัม/100 กรัม ตามลำดับ และหาค่าร้อยละการกลับคืน (%recovery) ของวิธีวิเคราะห์ในตัวอย่างข้าวกล้องเพาะงอก มีค่าอยู่ในช่วง 95.00% – 97.20% การใช้แป้งข้าวกล้องเพาะงอกทดแทนแป้งสาลีในขนมมัฟฟินได้ศึกษาอัตราส่วนการทดแทน 3 ระดับ คือ ทดแทนที่ระดับร้อยละ 20, 40 และ 60 ตามลำดับ เปรียบเทียบกับขนมมัฟฟิน ที่ใช้แป้งสาลีทั้งหมด แล้วทำการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยเทคนิคดูโอ-ทริโอ (duo-trio test) โดยใช้ผู้ทดสอบชิม 50 คน จากการทดสอบพบว่า ขนมมัฟฟินที่มีการแทนที่ แป้งสาลีด้วยแป้งข้าวกล้องเพาะงอกในปริมาณที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้สีของผิวด้านนอกและเนื้อในของขนมมัฟฟินเข้มขึ้น รวมถึงมีลักษณะหยาบ แข็งและร่วนมากขึ้น สำหรับการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า ปริมาณแป้งข้าวกล้องเพาะงอกสูงสุดที่สามารถแทนที่แป้งสาลีในการทำขนมมัฟฟินแล้วผู้ทดสอบชิมยังคงให้คะแนนความชอบอยู่ในระดับที่มีความชอบปานกลาง คือ การแทนที่แป้งสาลีด้วยแป้งข้าวกล้องเพาะงอกร้อยละ 20

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

377 08 ต.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่