
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาทางแสงของระบบดาวคู่บางระบบจากภาพถ่ายโดยกล้องดิจิตอล DSLR
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิระภรณ์ ไหมทอง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
897-60-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้สนใจศึกษาแนวทางการทำวิจัยดาราศาสตร์ทางแสง โดยใช้ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ ร่วมกับกล้องดิจิตอล DSLR เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณ ซึ่งได้ทำการศึกษาระบบดาวคู่ 2 ระบบ คือ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคาบการแปรแสงของระบบดาวคู่ RW Comae Berenices ที่ได้จากการสังเกตการณ์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา จากการวิเคราะห์พบว่ามีคาบการโคจรอัตราการโคจรเพิ่มขึ้น 0.00186 วินาทีต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะห่างระหว่างดาวทั้งสองมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อธิบายได้ด้วยทฤษฎี Thermal Relaxation Oscillation (TRO) และนอกจากนี้ยังพบว่าค่า O – C มีการเพิ่มขึ้นของคาบการโคจร และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบซ้อนกันอยู่ ซึ่งสามารถอธิบายได้ถึงการมีอยู่ของวัตถุที่สามที่มีรัศมีวงโคจรอยู่ที่ประมาณ 1.83 AU และมีคาบการโคจรของสมาชิกดวงที่สามประมาณ 34.55 ปี การศึกษาระบบดาวคู่ V1977 Orion ได้จากการสังเกตการณ์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ 2560 ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา เมื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของระบบดาวคู่นี้ โดยใช้โปรแกรม Wilson – Devinney พบว่ามีระนาบมุมเอียง (i) ประมาณ 50.86 องศา มีอัตราส่วนมวลที่คำนวณได้เป็น (q) มีค่า 1.60 และเมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคาบ การแปรแสงของระบบดาวคู่ V1799 Orion พบว่าคาบการโคจรมีค่าลดลงด้วยอัตรา 1.41 × 10- 2 วินาที/ปี ซึ่งหมายถึง การลดลงของระยะห่างระหว่างดาวสมาชิกทั้งสองดวงของระบบดาวคู่เป็นผลอันเนื่องมาจากกลไกการถ่ายเทมวลสารระหว่างสมาชิกทั้งสอง จึงมีแนวโน้มว่าระบบดาวคู่ V1799 Orion นี้มีวิวัฒนาการที่สอดคล้องกับทฤษฎี Angular Momentum Loss (AML) คำสำคัญ: สมบัติทางกายภาพ, O-C, XY Leonis, V1977 Orion, TRO, AML
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา302 05 ต.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445