ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ความสัมพันธ์ระหว่างความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความพยายามทุ่มเท ความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การ


ประทานพร สุรินต๊ะ

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1483-64-MGT-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความพยายามทุ่มเท ความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การ (2) เพื่อเปรียบเทียบความพยายามทุ่มเท ความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การระหว่างหน่วยงานที่มีความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์สูงและต่ำ รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็น บุคลากรในโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามลักษณะทางประชากร แบบประเมินความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แบบวัดความพยายามทุ่มเท แบบวัดความผูกพันต่องาน และแบบวัดความผูกพันต่อองค์การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพยายามทุ่มเท ความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญ (p<.01)

         2. ความพยายามทุ่มเท ความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<.01)

         3. หน่วยงานที่มีความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์สูง จะมีความพยายามทุ่มเทสูงกว่าหน่วยงานที่มีความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)

         4. หน่วยงานที่มีความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์สูง จะมีความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การสูงกว่าหน่วยงานที่มีความเท่าเทียมระหว่างเพศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)

Abstract

The purposes of this research were (1) to examine the relationships among gender equality in human resource management, discretionary effort, work  engagement and organizational commitment and (2) to compare discretionary effort, work engagement and organizational commitment between work units which gender equality have high-level of human resource management and those which gender equality have low-level of human resource management.

          A correlational research design was used. The sample was 268 hospital staff in general hospital under the Ministry of Public Health. The research instruments consisted of discretionary effort scale (DES), utrecht work engagement scale (UWES) and organizational commitment questionnaire. Data were analyzed by using the Pearson product-moment coefficient, and One-way Analysis of variance.

The research found that :

          1. gender equality in human resource management was positively related to discretionary effort, work engagement and organizational commitment (p<.01).

          2. discretionary effort was positively related to work engagement and organizational commitment (p<.01).

          3. work units which human resource management have high-level of gender equality had higher-level of discretionary effort than those which gender equality have low-level of human resource management (p< .05).

          4. work units which human resource management have high-level of gender equality had higher-level of work engagement  and organizational commitment than those which gender equality have low-level of human resource management        (p< .05).

ไฟล์งานวิจัย

รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์ (2).pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2565

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

5 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่