ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาศักยภาพการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าผ่าน องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.นภารัตน์ จิวาลักษณ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1573-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนจากข้าวและกาแฟในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการสกัดรำข้าวพันธุ์ทับทิมชุมแพ และรำข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เพื่อวิเคราะห์หาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟินอ
ลิกรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีรีฟลักซ์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าวิธีการต้ม สารสกัดจากรำข้าวทับทิมชุมแพมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ ปริมาณฟีนอลิกรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงกว่าสารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่   การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าที่มีส่วนผสมของสารสกัดรำข้าวทับทิมชุมแพ ได้เนื้อเซรั่มที่มีความชุ่มชื้นและซึมซาบผิวดี การนำกากกาแฟที่เหลือทิ้งจากกระบวนการชงกาแฟมาศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณกรดคลอโรจีนิก และปริมาณคาเฟอีน พบว่าสารสกัดกากกาแฟที่สภาวะอัตราส่วนกากกาแฟ:น้ำ เท่ากับ 1:50 อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เวลา 5 นาที มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณกรดคลอโรจีนิกสูงสุด ในขณะที่สารสกัดกากกาแฟที่สภาวะอัตราส่วนกากกาแฟ:น้ำ เท่ากับ 1:50 อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เวลา 120 นาที มีปริมาณคาเฟอีนมากที่สุด การสกัดเพคตินจากเปลือกกาแฟสดด้วยกรดไฮโดรคลอริกมีร้อยละผลผลิต ปริมาณเมทอกซิล และระดับการเกิดเอสเทอริฟิเคชันสูงกว่าผลที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำ ส่วนการสกัดเพคตินจากเปลือกกาแฟแห้งด้วยน้ำส้มสายชูมีร้อยละผลผลิตใกล้เคียงกับการสกัดด้วยกรดไฮโดรคลอริก เพคตินจากเปลือกกาแฟแห้งที่สกัดได้มีค่าปริมาณเอสเทอริฟิเคชั่น และปริมาณเมทอกซิลร้อยละ 97.69 และ 15.94 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับเพคตินทางการค้า

Abstract

The purpose of this research was to develop the production and processing potential of community products from rice and coffee in Phrao District, Chiang Mai Province.  The extraction of Tubtim ChumPhae rice bran and Riceberry rice bran, using water as solvent, were analyzed for antioxidant activity, total phenolic content and total flavonoid content. The results showed that the amount of antioxidant activity, total phenolic and total flavonoid extracted from Tubtim Chumphae rice bran were higher than those extracted from Riceberry rice bran. A prototype facial serum containing Tubtim Chumphae rice bran extract had moisturized texture and absorbed the skin well.  Coffee grounds left over from the brewing process was studied the antioxidant activity, chlorogenic acid content and caffeine content.  It was found the coffee grounds extract using the water ratio of 1:50 at extacted temperature of 80°C for 5 minute had the highest antioxidant activity and chlorogenic acid content. While, the coffee grounds extract using the same water ratio of 1:50 at extracted temperature of 80 °C for 120 minute had the highest amount of caffeine.  The extraction of pectin from fresh coffee husks with hydrochloric acid had a yield percentage, methoxyl content and degree of esterification higher than those of water extraction. While pectin extraction from dry coffee husks using vinegar had similar yield percentages to those extracted with hydrochloric acid.  Pectin from dry coffee husks had percentage of esterification and methoxyl contents, closed to a commercial pectin, of 97.69 and 15.94, respectively. 

ไฟล์งานวิจัย

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์-นภารัตน์-ลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่