
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ความสามารถในการปรับตัวด้านการปฏิบัติงาน และความผูกพันในการทำงานในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
นางสาวอัจฉรา คำฝั้น
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1625-65-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการปรับตัว ด้านการปฏิบัติงานและความผูกพันในการทำงานในภาวการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 284 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการปรับตัวด้านการปฏิบัติงานในงานของบุคลากรในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบว่า บุคลากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.64 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48) ด้านความผูกพันในงานของบุคลากรในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบว่า บุคลากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความผูกพันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) และความผูกพันในงานของบุคลากรในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปรับตัวด้านการปฏิบัติงาน ด้านความเอาใจใส่ในอาชีพ ด้านความใฝ่รู้ด้านอาชีพ ด้านความมั่นใจด้านอาชีพ และความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีข้อเสนอแนะแนวทางการสนับสนุนความสามารถในการปรับตัวด้านการปฏิบัติงาน และความผูกพันในงานของบุคลากรในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบว่า มีการสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ควรมีทั้งการฝึกอบรมจากภายในและนอกหน่วยงาน รวมทั้งหลักสูตรต่างๆ ที่บุคลากรสนใจ โดยพิจารณาตามประสบการณ์ทำงานความสามารถ และส่งเสริมให้บุคลากรศึกษาต่อในระดับที่สูงสุด
Abstract
This research is an integrated study. The objective is to study the ability to adapt in performance. and work commitments in the situation of the novel coronavirus 2019 outbreak of Chiang Mai Rajabhat University personnel.The sample consisted of 284 personnel working at Chiang Mai Rajabhat University.The tool was a questionnaire. analyze data Using descriptive statistics and Pearson's correlation coefficient, the results showed that the work performance adaptability of personnel during the 2019 novel coronavirus epidemic. Most of them were at a high level (mean 3.64 standard deviation of 0.48). Regarding the engagement of personnel during the 2019 novel coronavirus outbreak, it was found that most of the sample personnel had a high level of engagement ( Mean 3.57, standard deviation 0.54) and work engagement of personnel during the novel coronavirus outbreak.Career attention Career curiosity career confidence and overall engagement were statistically correlated at the 0.05 level. And work commitments of personnel during the outbreak of the novel coronavirus disease 2019 found that there is support to work from home (Work from Home) should have both internal and external training.including various courses that personnel are interested in by considering work experience and ability and encourage personnel to continue their education at the highest level
ไฟล์งานวิจัย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ความสามารถในการปรับตัวด้านการปฏิบัติงาน และความผูกพันในการทำงาน.pdf
7 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555